วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เทคโนโลยีเมนบอร์ดและซีพียู

เมนบอร์ด (Mainboard)

           เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย  เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว  เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน  ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มีความสวยงาม

มารู้จักส่วนประกอบของเมนบอร์ด

1.ซ็อกเก็ตซีพียู

        ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของตัวซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราจะใส่  ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้ตรงกันด้วย
2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อ           ทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ  ที่อยู่ภายนอก  ซึ่งแต่ล่ะพอร์ตจะมีรูเสียบเฉพาะของอุปกรณ์ที่ต่อนั้นจะไม่ค่อยต่อผิดกัน มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง

2.1  PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด  โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว  และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก

2.2  Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า  ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล  400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก
2.3 eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน
2.4 USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ  แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย  อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s
2.5 LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน  ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ
2.6  ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง  ทั้งไมค์

3.สล็อต์ AGP 
         ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล  มีทั้ง AGP และ PCI Express  เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล
4.สล็อต PCI 
         ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง  การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ 

5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์ 
          ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม
6.ซิปเซต          
           ถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ  เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด  โดยจะมีซิปเซตอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ
-   North  Bridge จะทำหน้าที่คอบควบคุม ซีพียู แรม และการ์ดแสดงผล
-   South  Bridge  จะทำหน้าที่ควบคุมสล็อตต่างๆ
7.หัวต่อ SATA 
          ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์  แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม  ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่  อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย
8.หัวต่อแบบ IDE          ใช้ในการเชื่อมต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM
9.ต่อแหล่งจ่ายไฟ

        ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า  จากพาวเวอร์ซับพราย  โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถว
10.ซ็อกเก็ตแรม

โดยใช้สำหรับใส่แรม โดยมีทั้งแบบ Dual Channel และ Triple Channel
11.ตัวเชื่อมปุ่มควบคุม      ใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์    และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
12.ตัวต่อ USB       ใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส  เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น



ซีพียู (CPU)

         ซีพียู (CPU) คือ หน่วยประมวลผลกลาง ถือเป็นหัวใจหลักในการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานต่างๆ ของระบบ ตลอดจนการจัดลำดับความสำคัญของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน คอยตรวจสอบความพร้อมของ ชุดคำสั่งและอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมส่งต่อการทำงานให้ลื่นไหลต่อเนื่องไม่ติดขัด
CPU3D
กลไกการทำงานของซีพียู
     การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วย ความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือ ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู

      ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium core i3,i5,i7 หรือทางฝั่งเอเอ็มดี เช่น Althon XP, FX , A ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
• รีจิสเตอร์ (Register)
• หน่วยความจำภายนอก (External Memory)
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช (Cache)
• Passing Math Operation
โครงสร้างการทำงานของซีพียู (ค.ศ.2011)
intel_techno
ภาพ  แสดงพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการผลิตซีพียู อินเทล
          มองถึงการพัฒนาการในยุคระหว่างรอยต่อของเทคโนโลยี Sandy Bridge กับ Ivy Bridge ซึ่งเป็นรุ่นที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดถือว่าเป็นช่วยของการปรับเปลี่ยนที่ใกล้กันมากมีการพัฒนาระบบหลายๆส่วนเพื่อให้การทำงานหลัดๆของซีพียูนั้นมีคุณภาพเพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับความต้องการการใช้งานที่มีสูงขึ้นตามไปด้วยถือเป็นการพัฒนาจากยุคที่ 2 เข้าสู่ยุคที่ 3 ที่ยังคงมีความต่อเนื่องในส่วนของเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย บางส่วนก็ยังคงอยู่ในรูปแบบเดิม
เทคโนโลยี Sandy Bridge
          ในส่วนของเทคโนโลยี Sandy Bridge จากค่าย Intel นั้นได้มีการปรับรูปแบบและโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมมากมาย หากมองไปแล้วก็จะพบได้ว่าการมุ่งพัฒนาในสภาพการณ์ปัจจุบันก็เพื่อตอบสนองความต้องการทางการตลาดเป็นส่วนใหญ่โดย Intel เองก็ได้พยายามมุ่งพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาหลายส่วนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และได้เดินสายพานการผลิตออกสู่ตลาดอย่างเร่งด่วนเพื่อตอกย้ำความสำเร็จของตนเอง และในขณะเดียวกันคู่แข่งจากค่าย AMD ซึ่งได้พัฒนาเทคโนโลยีไปก่อนหน้าแล้ว
โดยทางเทคโนโลยีของ Intel ที่พยายามพัฒนามีดังนี้
Intel® Turbo Boost Technology 2.0
Improved Platform Power Management Capabilities
Intel AES-NI improvements
More robust Intel TXT solutions
Intel® Advanced Smart Cache
Intel® Smart Memory Access
Intel® Advanced Vector Extensions (Intel® AVX)
Extension to 128-bit SSE Instruction
Support for 256-bit wide vectors and SIMD register set
Targets floating point operations
Benefits these applications:
  • Engineering
  • Visual processing/recognition
  • Data-mining
  • Physics
  • Cryptography
Optimized platforms for:
  • Performance
  • Smaller Form Factors
  • Best value
แนวโน้นในการพัฒนาในอนาคต
intel_techno2
ภาพ  แสดงแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสู่อนาคต



ประวัติ และ วิวัฒนาการ ของ CPU

ประวัติ และ วิวัฒนาการ ของ CPU
     ไมโครโพรเซสเซอร์ เกิดขึ้นช่วงทศวรรษ 1970โดยเกิดจากการนำเทคโนโลยี 2 อย่างมาร่วมกันพัฒนา คือ เทคโนโลยีด้านดิจิตอลคอมพิวเตอร์และ เทคโลยีด้านโซลิดเสเตตช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 คือดิจิตอลคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาใช้ในด้านการทหารช่วงกลางค.ศ. 1940ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาใช้ในวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ  ปี ค.ศ. 1948นักวิทยาศาสตร์ได้คิคค้นทรานซิสเตอร์ที่ทำมาจกากโซลิดสเตต


   ช่วง ค.ศ. 1950 เริ่มมีการผลิตดิจิตอลคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไปโดยใช้หลอด
สูญญากาศเป็นส่วนประกอบในการสร้างวงจรพื้นฐานเช่น เกต และฟลิปฟลอปเพื่อใช้เครื่องคำนวนและหน่วยความจำและอินพุตและเอาต์พุตของดิจิตอลคอมพิวเตอร์ และช่วงทศวรรษเดียวกันได้มีการทดลองโซลิดเสเตตอย่างจิงจังและได้ผลิตทรานซิสเตอร์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำซิลิคอน และปลายทศวรรษที่ 1950 ได้นำทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ

   ช่วงต้นทศวรรษ1960 ได้มีการนำทรานซิสเตอร์หลายๆตัวมาบรรจุลงในซิลิคอนเพียงตัวเดียว โดยที่ทรานซิสเตอร์ แต่ละตัวจะถูกเชื่อมต่อกันด้วยโลหะขนาดเล็กเพื่อสร้างเป็นวงจรแบบต่างๆ เช่น เกต

   ช่วงกลางทศวรรค 1960  ได้มีการผลิตไอซีพื้นฐานเป็นแบบ small และ medium scale integration(SSI และ MSI) ทำให้เทคโนโลยีถูกแรงผลักดัน 2 แนวทาง คือการพัฒนาทางด้านเทคนิคเพื่อลดต้นทุนการผลิต และอีกแนวทางหนึ่งก็คือการเพิ่มความซับซ้อนให้กับวงจร

   ต้นทศวรรษที่ 1970 ได้เริ่มนำเอาวงจรดิจิตอลมาสร้างรวมกันและบรรจุอยู่ไอซีตัวเดียวเรียกว่า large-scale integration(LSI) และในช่วงทศวรรษที่ 1980 ก็ได้มีการนำเอาทรานซิสเตอร์มากกว่า100,000ตัวมาใส่ในไอซีเพียงตัวเดียวซึ่งเรียกว่า very large-scale integration (VLSI)


วิวัฒนาการของ CPU ( Intel)

วิวัฒนาการของ Intel



        เป็น บริษัทผู้ผลิตซีพียูที่เก่าแก่และมีการพัฒนา มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ซีพียู 8086 , 8088 และซีพียูในตระกูล 80x86 เรื่อยมา จนมาถึง Celeron , Pentium II และ III ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ยุค Celeron II, Pentium 4 และ Pentium 4 Extreme Edition ที่ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้อย่างกว้างขวาง เรื่อยมาจนมาถึงยุคของ Celeron D และ Pentium 4 ภายใต้รหัส Processor Number ใหม่ รวมไปถึงซีพียูในกลุ่ม Dual และ Quad-Core อย่าง Pentium D , Pentium Dual-Core, Pentium Extreme Edition , Core Duo, Core 2 Duo, Core 2 Quad และ Core 2 Extreme ที่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุคซีพียูในแบบ Dual & Multi-Core บนเครื่องซีพีที่ใช้กันอยู่แพร่หลายในปัจจุบัน รวมทั้งซีพียูบนโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมแบบใหม่อย่าง Nehalem ที่จะมาพร้อมกันแบรนด์ใหม่ที่ชื่อว่า Core i7 เป็นต้น
รายชื่อของซีพียูสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ PC หรือ Desktop แต่ละรุ่นตั่งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของบริษัท อินเทล (Intel) มีดังนี้
  • ตระกูล 80x86 เป็นซีพียูรุ่นแรกๆ เช่น 80386,80486 ซึ่งปัจจุบันไม่ใช้กันแล้ว
  • Pentium เป็นซีพียูรุ่นแรกที่เปลี่ยนไปใช้วิธีตั้งชื่อเรียกว่า Pentium แทนตัวเลขแบบเดิม
  • Pentium MMX เป็นซีพียูที่ได้มีการนำเอาคำสั่ง MMX (Multimedia extension) มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางด้านมัลติมีเดีย
  • Pentium Pro เป็นซีพียูรุ่นแรกของตระกูล P6 ซีพียูรุ่นนี้ใช้กับชิปเซ็ตรุ่น 440 FX และได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นอย่างมากสมัยนั้น
  • Pentium II เป็นการนำซีพียู Pentium Pro มาปรับปรุงโดยเพิ่มชุดคำสั่ง MMX เข้าไป และเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฤฑ์แบบตลับ ซึ่งใช้เสียบลงใน Slot 1 โดย L2 Cache ขนาด 512 ME ที่มีความเร็วเพียงครึ่งเดียวของความเร็วซีพียูCeleron เป็นการนำเอา Pentium II มาลดองค์ประกอบ โดยยุคแรกได้ตัด L2 Cache ออกมาเพื่อให้มีราคาถูกลง
  • Pentium III เป็นซีพียูที่ใช้ชื่อรหัสว่า Katmai ซึ่งถูกเพิ่มเติมชุดคำสั่ง SSE เข้าไป
  • Celeron II รุ่นแรกเป็นการนำเอา Pentium III ( Coppermine และ Tualatin) มาลด L2 Cache ลงเหลือเพียง 128 KB และ 256 KB ตามลำดับจากนั้นรุ่นถัดมาก็ได้นำเอาซีพียู Pentium 4 (Willamette และ Northwood) โดยยังคงใช้ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Celeron หรือ Celeron II

ซีพียู Celeron D และ Celeron Dual-Core

Celeron รุ่นล่าสุดใช้ชื่อว่า Celeron D ที่ยังคงเป็นซีพียูราคาประหยัดสำหรับผุ้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ใหม่ในราคาไม่ แพงเพื่อนไปใช้งานทั่ว ๆ ไปโดยรุ่นต่าง ๆ ที่ออกมามีดังนี้

  • Celeron D (Prescott-90mm) เป็นการนำเอา Penrium 4 (Prescott-90mm) บนสถาปัตยกรรม NetBurst มาลดขนาด L2 Cache ลงจากเดิม 1MB ให้เหลือเพียง 256 KB ความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 3.33GHz ในรุ่น 355 ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TDP (ค่าพลังงานความร้อนที่ถูกปล่อยออกมาจากตัวซีพียู) สูงสุด 84 W สนับสนุนชุดคำสั่งมัลติมีเดีย MMX/SSE/SSE2/SSE3 และตัดเอาเทคโนโลยี Hyper-Threading (HT) ใน Pentium 4 เดิมออก รหัส Processor Number ที่ใช้จะเป็น 3xx มีทั้งที่ใช้บรรจะภัณฑ์แบบ LGA 775 และ Socket 478 ในบางรุ่น (3x0) โดยมีทั้งรุ่นที่มีเทคโนโลยี XD-Bit และ Intel EM64T และรุ่นเก่าที่มีเฉพาะ XD-Bit เท่านั้น และรุ่นที่ไม่มี XD-Bit เลย
  • Celeron D (Cedar Mill-65 nm) เป็นการนำเอา Pentium 4 (Cedar Mill-65 nm) บนสถาปัตยกรรม NetBurst มาลดขนาด L2 Cache ลงจากเดิม 2 MB ให้เหลือเพียงพอ 512 KB ให้รหัส Processor Number 3xx ความเร็วสูงสุดในปัจจุบันอยู่ที่ 3.6 GHz ในรุ่น 365 ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TDP สูงสุด 65 W ใช้บรรจุภัณฑ์แบบ LGA 775 สนับสนุนชุดคำสั่งมัลติมีเดีย MMX/SSE/SSE2/SSE3 รวมทั้งเทคโนโลยี Intel EM64T และ XD-Bit (Execute Disable Bit) ด้วย
  • Celeron D (Conroe-L/65 nm) เป็น Celeron D รุ่นแรกลนสถาปัตยกรรม Core Microarchitecture (เช่นเดียวกับ Core 2 Duo) ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 0.065 ไมครอน หรือ 65 nm ใชรหัส Processor Number 4xx ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 2.2 GHz ในรุ่น 450 มี L2 Cache ขนาด 512 KB ทำงานด้วย FSB 800 MHz ค่า TDP สูงสุด 35 W ใช้บรรจุภัณฑ์แบบ LGA 775 สนับสนุนชุดคำสั่งมัลติมีเดีย MMX/SSE/SSE2/SSE3/SSSE3 รวมทั้งเทคโนโลยี Intel ERM64T และ XD-Bit ด้วย (ไม่สนับสนุน Hyper-Threading-HT และ Enhanced Intel SpeedStep Technology-EIST)
  • Celeron Dual-Core (Merom 2M-65 nm) สำหรับ Notebook เป็น Celeron Dual-Core สำหรับ Notebook บนสถาปัตยกรรม Core Microarchitecture ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 65 nm ใช้รหัส Processor Number T1xxx ควาเร็วสูงสุดในปัจจุบันอยุ่ที่ 1.86 GHz ในรุ่น T1500 มี L2 Cache ขนาด 512 KB (แต่ละคอร์ใช้งานร่วมกัน) ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TDP สูงสุด 35 W ใช้กับ Socket M สนับสนุนชุดคำสั่งมัลติมีเดีย MMX/SSE/SSE2/SSE3/SSSE3 รวมทั้งเทคโนโลยี Intel EM64T และ XD-Bit แต่ไม่สนับสนุน EIST และ Hyper-Threading
  • ซี พียู Pentium 4 Extreme Edition Pentium 4 Extreme Edition (Gallatin-130 nm) มีความเร็ว 3.4 GHz มี L2 Cache ขนาด 512 KBค่า TDP สูงสุด 110 WPentium 4 Extreme Edition (Prescott 2 M-90 nm ) มีความเร็ว 3.73 GHz ทำงานด้วย FSB 1066 MHz ค่า TDP สูงสุด 115W
  • ซี พียู Pentium D นับเป็นก้าวแรกสู่ยุค Dual& Muti-Core ของ Intel โดย Pentium D ถูกออกมา เพื่อการทำงานที่ต้องการ Multitasking สูงๆ หรือสามารถทำงานกับแอพพลิเคชั่นได้หลายตัวพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่- Pentium D ( Smithfield-90nm)- Pentium D (Presler-65 nm)
  • ซี พียู Pentium Dual-Core Pentium Dual-Core (Allendale-65 nm) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.4 GHz ในรุ่น E2220 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WPentium Dual-Core (Wolfdale 2M-45 nm) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.5 GHz ในรุ่น E2220 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 2 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WPentium Dual-Core (Yonah-65 nm) สำหรับ Note book มีความเร็วสูงสุด 1.86 GHz ในรุ่น T2130 ทำงานด้วย FSB 533 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 31 WPentium Dual-Core (Morom 2M-65 nm) สำหรับ Note book มีความเร็วสูงสุด 2.0 GHz ในรุ่น T24100 ทำงานด้วย FSB 533 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 35 W
  • ซี พียู Pentium Extreme Edition เป็น Dual-Core ภายใต้แบรนด์ Pentium ในตระกูล Extreme Edition ที่ถูกออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับ Hi- End สมรรถนะสูง เหมาะกับการสร้างสรรค์สื่อบันเทิงต่างๆอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการประมวลผลภาพวิดีโอ และระบบเสียงแบบ High Definition ทั้งงานด้านการออกแบบและเกมส์ต่าง ๆ ได้แก่- Pentium Extreme Edition (Smithfield-90 nm )- Pentium Extreme Edition (Presler-65 nm )
  • ซี พียู Core 2 Duo Core 2 Duo (Allendale-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 2.6 GHz ในรุ่น E4700 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 2 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WCore 2 Duo (Conroe-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น E6850 ทำงานด้วย FSB 1066 และ 1333 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WCore 2 Duo (Wolfdale 3M-45 nm) มีความเร็วสูงสุด 2.8 GHz ในรุ่น E7400 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 3 MB ค่า TDP สูงสุด 65 WCore 2 Duo (Wolfdale -45 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.3 GHz ในรุ่น E8600 ทำงานด้วย FSB 1333 MHz มี L2 Cache ขนาด 6 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
  • ซี พียู Core 2 Extreme (Dual-Core) Core 2 Extreme (Conroe XE-65 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.93GHz ในรุ่น X6800 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 75 W
  • ซี พียู Core 2 Quad Core 2 Quad (Kentsfield-65 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.66 GHz ในรุ่น Q6700 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 95 WCore 2 Quad (Yorkfield 4M-45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.33 GHz ในรุ่น LGA775 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 95 WCore 2 Quad (Yorkfield 6 M-45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.5 GHz ในรุ่น Q9400 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 6 MB ค่า TDP สูงสุด 95 WCore 2 Quad (Yorkfield -45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น Q9650 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 12 MB ค่า TDP สูงสุด 95 W
  • ซี พียู Core 2 Extreme (Quad-Core) Core 2 Extreme (Conroe XE-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น QX6850 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 
  • งานด้วย FSB 1600MHz มี L2 Cache ขนาด 12 MB ค่า TDP สูงสุด 150 W
  • ซี พียู Core i7 เป็นซีพียูภายใต้แบรนด์ใหม่ในชื่อ Core i7 ที่ใช้รหัสการผลิตว่า Nehalem หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมแบบใหม่ด้วยโครงสร้างทั้งภาย ในและภายนอกที่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น การย้ายเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำ เป็นต้น
  • ซี พียู Core i7 Extreme Core i7 Extreme (Bloomfield-45 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.2 GHz ในรุ่น LGA1366ทำงานด้วย FSB 800/1066/1333/1600MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 130 W
Processor Information
Intel ProcessorsProducedManufacturerMax. CPU Clock rate
4004

From late 1971 to 1981Intel740 kHz
4040


From 1974 to 1981Intel500 kHz to 740 kHz
8008


From mid 1972 to 1983Intel0.5 MHz to 0.8 MHz
8080

mid 1974Intel2 MHz
8085

From 1977 to 1990sIntel3, 5 and 6 MHz
8086

From 1978 to 1990sIntel, AMD, NEC, Fujitsu,Harris (Intersil),OKI, Siemens AG,Taxes Istruments, Mitsubishi5 MHz to 10 MHz
8088


From 1979 to 1990sIntel, AMD, NEC, Fujitsu,Harris (Intersil),OKI, Siemens AG,Taxes Istruments, Mitsubishi5 MHz to 10 MHz
80186

From 1982 to 2007 (Intel versions)Intel, AMD, Fujitsu,Harris (Intersil),OKI, Siemens AG,6 MHz to 25 MHz
80188



From 1980 to 1982Intel8 MHz to 10 MHz
80286
From 1982 to early 1990sIntel, AMD, Fujitsu,Harris (Intersil),OKI, Siemens AG, IBM6 MHz (4 MHz for a short time) to 25 MHz
80386

From 1985 to September 2007Intel, AMD ,IBM12 MHz to 40 MHz
80486

From 1989 to 2007Intel, AMD, UMC, SGS ,Harris Semiconductor,,Taxes Istruments, Thomson16  MHz to 100 MHz
Pentium Pro

November 1, 1995Intel150 MHz to 200 MHz
Pentium II

From mid 1997 to early 1999Intel233 MHz to 450 MHz
Pentium III

From early 1999 to 2003Intel400 MHz to 1.4 GHz
Pentium 4

From 2000 to 2008Intel1.4 GHz to 3.1 GHz
Intel CoreJan 2006Intel
Core 2 Duo

2006Intel1.06 GHz to 3.33 GHz
Dual Core

From 2006 to 2009Intel1.3 GHz to 2.6 GHz
Core 2 Quad

Aug 2008Intel
Core i3

January 7, 2010Intel
Core i5

introduced on September 8, 2009Intel
Core i7
March 16, 2010Intel2.80 GHz to 3.6 GHz

วิวัฒนาการของหน่วยประมวลผล

แบ่งตามยุคสมัย ออกเป็น ยุค ดังนี้
           
     ยุคที่ 1 บริษัท IBM ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคลขึ้นมา และได้เลือกใช้ซีพียู 8088 และ 8086 ของบริษัท Intel เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM เป็นที่แพร่หลายจนมีผู้ผลิตเครื่องเลียนแบบออกมามากมายที่ใช้ซีพียูรุ่นนี้ ซึ่งเป็นของบริษัท Intel

ซีพียูรุ่น 8086

            ยุคที่ 2 ยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูตระกูล 286 ซึ่งยุคนี้ซีพียูจะมีความเร็วสูงสุดเพียง 20 MHz

 
ซีพียูรุ่น 286

            ยุคที่ 3 ยุคของซีพียูตระกูล 386 เริ่มมีการใช้หน่วยความจำแคชทำงานร่วมกับซีพียู เป็นผลให้ซีพียูในตระกูล 386 มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นกว่าในรุ่น 286


ซีพียูรุ่น 386
           
 ยุคที่ 4 ยุคที่คอมพิวเตอร์เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลาย ซีพียูตระกูล 486 จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้ใช้งานในระดับองค์กร และรวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภายในบ้าน


ซีพียูรุ่น 486
           
 ยุคที่ 5 เริ่มมีการตั้งซื่อของซีพียู แทนที่จะเรียกชื่อเป็นตัวเลขเช่นเดิม เริ่มจากบริษัทIntel ตั้งชื่อซีพียูว่า “Pentium” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาโรมันซึ่งแปลว่า ห้า  บริษัท AMDก็ตั้งชื่อของตนว่า “K5”


ซีพียูรุ่น Pentium
          
  ยุคที่ 6 ซีพียูยังคงเป็น Pentium แต่มีความเร็วในการประมวลผลมากขึ้น ใช้ชื่อว่า“Pentium II” ทาง AMD ก็ได้ผลิตซีพียูโดยใช้ชื่อว่า “K6” ออกมา หลังจากนั้นก็มีซีพียูของทั้งสองค่ายผลิตออกมาอีกหลายรุ่นด้วยกันไม่ว่าจะเป็น Celeron , Pentium III Coppermineและ AMD K6-3


ซีพียูรุ่น Pentium II และ K6

            ยุคที่ 7 ยุคปัจจุบัน ความเร็วของซีพียูได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจนทะลุหลักถึง 1 GHzสาเหตุที่มีความเร็วขึ้นมาก อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีการผลิตที่ออกแบบให้ซีพียูมีขนาดเล็กลงนั่นเอง ซีพียูในยุคนี้ได้แก่ Athlon , Duron ที่ ผลิตโดย  AMD และ Pentium 4 ที่ผลิตโดยIntel


ซีพียูรุ่น Pentium 4 และ  AMD Duron

                                                     

บริษัทผู้ผลิตซีพียู 

-บริษัท อินเทล Intel

-บริษัท AMD : เอเอ็มดี

                                         CPU Socket                   พิมพ์อีเมล์


            ใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือ Pentium 4และ Celeron จะเรียกซ็อคเก็ตว่า SOCKET 478 ส่วนเมนบอร์ดสำหรับซีพียู AMD นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ SOCKET 462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า SOCKET A จุดสังเกตว่าเมนบอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนซ็อคเก็ต ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์ค ที่มุมของซ็อคเก็ต ถ้าเป็นซ็อคเก็น 478 จะมีรอยมาร์คอยู่ที่มุมหนึ่งด้าน ส่วนซ็อคเก็ต 462จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู เพื่อให้คุณติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่างถูกต้อง

All about CPU Socket เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับซ็อกเก็ตซีพียูอินเทลและเอเอ็มดี


            ในช่วงเวลานี้ถือว่าเป็นช่วงที่ซีพียูรุ่นใหม่และรุ่นเก่ากำลังสับเปลี่ยนกันพอดี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรุ่นของซีพียูในช่วงเวลานี้มันมีการเปลี่ยนแปลงแพ็กเกจของซีพียูด้วยซึ่งทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงซ็อกเก็ตของซีพียูตามไปด้วย ซึ่งเราคิดว่าข้อมูลเหล่านี้ก็จะช่วยให้ผู้อ่านของเราสามารถที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อหรืออัปเกรดซีพียูของตนได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น

กว่าจะเห็นเป็นซ็อกเก็ตที่ใช้งานง่าย
            ย้อนเวลาไปในสมัยก่อนตั้งแต่ยุคซีพียู 8088, 80286 และ 80386 ต้องบอกว่าโดยปกติแล้วผู้ใช้ทั่วไปอย่างเราไม่สามารถที่จะทำการอัปเกรดซีพียูได้อย่างง่ายดายเหมือนทุกวันนี้ ด้วยสาเหตุที่ว่าเราไม่สามารถหาซื้อซีพียูได้จากตามร้านค้าคอมพิวเตอร์ทั่วไป รวมไปถึงเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้สามารถทำการอัปเกรดซีพียูได้ แม้ว่าตัวซีพียูจะถูกติดตั้งมาบนซ็อกเก็ตแล้วก็ตาม แต่ซ็อกเก็ตของซีพียูสมัยก่อนนั้นก็เป็นอะไรที่ใช้งานค่อนข้างยาก หรือไม่เอื้ออำนวยต่อการถอดเปลี่ยนซีพียูด้วยมือเปล่าเหมือนกับทุกวันนี้
จนกระทั่งในช่วงราวๆ ปี 1989 หรือสักปี 1990 นี่แหละที่เราเริ่มจะได้สัมผัสกับการอัปเกรดซีพียูได้ด้วยตนเอง ซึ่งช่วงเวลานั้นก็เป็นการมาของซีพียู 80486 และซีพียู Pentium นั่นเองซึ่งก็มีทั้งซีพียูที่ผลิตโดยอินเทลเอง และซีพียูจากบริษัทอื่นๆ ที่อินเทลขายเทคโนโลยีให้ทำการผลิตนั่นรวมถึงคู่แข่งคนสำคัญอย่างเอเอ็มดีด้วย
การมีซ็อกเก็ตที่ใช้งานง่ายทำให้โลกของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีสเปคที่หลากหลาย ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ซีพียูได้ตามความต้องการ

ย้อนรอยเรื่องซ็อกเก็ต
            ก่อนจะพูดถึงเรื่องราวของซ็อกเก็ตรุ่นใหม่เราลองมาดูกันสักหน่อยว่ากว่าจะมาเป็นซ็อกเก็ตรุ่นล่าสุดอย่างSocket AM3 ของเอเอ็มดี และ Socket LGA1366 ของอินเทลนั้น มันมีซ็อกเก็ตชื่ออะไรกันบ้างและใช้กับซีพียูรุ่นไหน รวมถึงช่วงเวลาในการเปิดตัวด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะทำให้เรารู้ถึงความเป็นมาของซีพียูแต่ละตัวได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งข้อมูลต่างๆ นั้นเราได้รวมรวมไว้ในตารางที่ แล้วครับ อย่างไรก็ตามข้อมูลในตารางนี้อาจจะไม่ได้ละเอียดมากนัก แต่ก็เป็นการแสดงให้เห็นภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงแต่ละช่วงเวลาได้ค่อนข้างชัดเจนพอสมควร
ในตารางที่ นอกจากจะมีข้อมูลแล้วยังมีตัวอักษรย่อต่างๆ ที่น่าสนใจอีกด้วยครับ เราจะมาขยายความหมายของตัวย่อเหล่านั้นกันว่ามาจากอะไรกันบ้าง เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

- FC-PGA = Flip-chip pin grid array
- FC-PGA2 = FC-PGA (เป็นชิปซีพียูที่มีการติดตั้งชุดระบายความร้อนมาบนตัวซีพียูเลย)
- OD = OverDrive (เป็นซีพียูที่ใช้สำหรับการอัปเกรด ในยุค 486 รวมถึงซีพียู Pentium ด้วย)
- PAC = Pin array cartridge
- PGA = Pin grid array
- PPGA = Plastic pin grid array
- SC242 = Slot connector, 242 pins
- SC330 = Slot connector, 330 pins
- SECC = Single edge contact cartridge
- SPGA = Staggered pin grid array
- mPGA = Micro pin grid array
- LGA = Land Grid Array
- VRM = Voltage regulator module (เป็นวงจรควบคุมการจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับซีพียู ซึ่งอาจจะถูกกำหนดค่ามาจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรง หรืออาจจะถูกปรับเปลี่ยนได้เองโดยกำหนดที่ตัวจัมเปอร์บนเมนบอร์ด)
- Auto VRM = Auto Voltage regulator module (หมายถึงวงจรควบคุมแรงดันไฟฟ้าให้กับซีพียู โดยจะทำการจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสมกับซีพียูแต่ละรุ่นโดยอัตโนมัติ โดยเมนบอร์ดจะมีการสื่อสารข้อมูลตรงนี้ผ่านขาซีพียูที่มีชื่อว่า VID)
ก็ถือว่าพอหอมปากหอมคอสำหรับที่มาที่เป็นของซ็อกเก็ตรุ่นต่างๆ ตอนนี้เราก็จะกลับเข้าไปสู่ยุคปัจจุบันกันแล้ว และเราจะไปเริ่มต้นกันที่ซ็อกเก็ตของซีพียูเอเอ็มดีกันก่อน

Socket ของเอเอ็มดี
สำหรับเมนบอร์ดที่รองรับซีพียูเอเอ็มดีในเวลานี้ก็จะมีซ็อกเก็ตให้ใช้กันอยู่สองแบบหลักๆ นั่นก็คือซ็อกเก็ตAM2 และซ็อกเก็ต AM3 แต่ว่าซ็อกเก็ต AM2 แบ่งย่อยไปอีก เป็น AM2 และ AM2+

Socket AM2: (เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2006)

ลักษณะของซ็อกเก็ต AM2 (ก่อนหน้านี้เอเอ็มดีเรียกว่าซ็อกเก็ต M2)

            ซ็อกเก็ต AM2 นั้นจะมีจำนวนของพินสำหรับการรองรับของซีพียูต่างๆ ด้วยกัน 940 พิน เช่นเดียวกันกับซ็อกเก็ตของซีพียู AMD รุ่นก่อนหน้าที่เรียกกันว่า Socket 940 จึงทำให้หลายคนสับสนว่ามันเป็นซ็อกเก็ตแบบเดียวกัน แต่อันที่จริงแล้วซ็อกเก็ต AM2 กับซ็อกเก็ต 940 ก่อนหน้านั้นไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เนื่องจากซีพียูที่ออกแบบมาทำงานบนซ็อกเก็ต 940 นั้น รองรับการทำงานของหน่วยความจำแบบ DDR รุ่นแรก แต่ว่าซ็อกเก็ต AM2 จะออกแบบมารองรับหน่วยความจำรุ่นที่ใหม่กว่าและทำงานร่วมกับหน่วยความจำ DDR2 และนี่เป็นเหตุผลหลักที่ทำไมจำนวนพินบนซ็อกเก็ตเท่ากันแต่ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้สำหรับเมนบอร์ดที่ออกมาในช่วงเวลานี้จะเป็นแบบ AM2+ กันหมดแล้ว อย่างไรก็ตามท่านที่ใช้เมนบอร์ดรุ่นเก่าที่เป็นซ็อกเก็ต AM2 ท่านสามารถที่จะนำซีพียูรุ่นที่เป็นซ็อกเก็ต AM2+มาติดตั้งบนซ็อกเก็ต AM2 ได้โดยไม่มีปัญหา

รูปที่แสดงให้เห็นถึงความเข้ากันได้ระหว่างซีพียูซ็อกเก็ต AM2 กับซ็อกเก็ต AM2+

ภาพเปรียบเทียบระหว่างซ็อกเก็ต AM2+ (ซ้าย) กับซ็อกเก็ต AM3 (ขวา)

            สำหรับซ็อกเก็ต AM2+ นั้นต้องบอกว่ามีความเข้ากับได้กับซ็อกเก็ต AM2 เป็นอย่างดี เพราะซีพียูที่เคยใช้งานอยู่บนซ็อกเก็ต AM2 สามารถนำมาใช้งานบนซ็อกเก็ต AM2+ ได้ทันทีโดยไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากนี้แล้วเอเอ็มดียังได้ออกแบบให้ซ็อกเก็ต AM2+ นั้นเป็นบัสแบบ HyperTransport 3.0 แต่ว่าการทำงานจริงจะอยู่ในโหมดของเวอร์ชัน 2.0 เท่านั้น สำหรับผู้ที่ใช้งานเมนบอร์ดที่เป็นซ็อกเก็ต AM2+ อยู่ก็ไม่จำเป็นต้องทำการเปลี่ยนเมนบอร์ดนะครับ ถ้าต้องการใช้งานร่วมกับซีพียูรุ่นใหม่ที่เป็นซ็อกเก็ต AM3 เพราะตัวซีพียูแบบซ็อกเก็ต AM3 ออกแบบมาให้ใส่กับเมนบอร์ดที่เป็นซ็อกเก็ตได้AM2+ ครับ ถ้าใครกำลังวางแผนที่จะซื้อเมนบอร์ดที่เป็นซ็อกเก็ตแบบ AM2+ ในเวลานี้ก็มองหาคำว่า “AM3 Ready” บนเมนบอร์ดได้

ซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต AM2+ จะมีการออกแบบการใช้พลังงานสองชุดแยกจากกันดังในรูป
เพื่อช่วยในเรื่องการจัดการพลังงาน

            ความแตกต่างระหว่างซ็อกเก็ต AM2 กับ AM2+ สาระสำคัญจริงๆ มันอยู่ตรงที่เรื่องของการจ่ายไฟให้กับซีพียูครับ เนื่องจากซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต AM2+ จะมีการแยกภาคจ่ายไฟให้กับส่วนที่เป็นคอร์ของซีพียูกับพวกบัสและวงจรควบคุมหน่วยความจำออกจากกัน ทั้งนี้เป็นเพราะว่าเอเอ็มดีต้องการให้ซีพียูรุ่นใหม่ประหยัดพลังงานได้มากขึ้นนั่นเอง ซึ่งคุณสมบัตินี้ก็จะถูกส่งต่อไปยังซ็อกเก็ต AM3 ด้วยเช่นกัน

Socket AM3: (เปิดตัวครั้งแรกในปี 2009)

ซ็อกเก็ต AM3 ที่ดูแล้วก็แทบจะไม่แตกต่างไปจากซ็อกเก็ต AM2+ เลย

            ในที่สุดเอเอ็มดีก็ได้ทำการเปลี่ยนแปลงตัวซ็อกเก็ตอย่างสมบูรณ์แบบอีกครั้งคือ ซ็อกเก็ต AM3 จะไม่รองรับการทำงานร่วมกับซีพียูที่ใช้ซ็อกเก็ตแบบ AM2 และ AM2+ เพราะจำนวนพินของซ็อกเก็ต AM3 นั้นมีเพียง 938 พินเท่านั้น แต่ก็ยังมีเรื่องที่น่ายินดีอยู่บ้างว่าตัวซีพียูรุ่นใหม่ที่มีพินเป็น AM3 (ย้ำนะครับว่าตัวซีพียู) ยังสามารถนำไปใช้บนเมนบอร์ดซ็อกเก็ตAM2+ ได้ แต่ต้องตรวจสอบด้วยว่าเมนบอร์ดรุ่นนั้นรองรับซีพียูรุ่นใหม่ๆ หรือใหม่ และบางครั้งอาจจะต้องทำการอัปเกรดไบออสก่อน (อันที่จริงทางเอเอ็มดีออกแบบซีพียูซ็อกเก็ต AM3 ให้สามารถใส่ในซ็อกเก็ต AM2 ได้ด้วยซ้ำไป แต่ติดปัญหาตรงที่ว่าเมนบอร์ดที่เป็นซ็อกเก็ต AM2 ส่วนใหญ่ออกแบบชุดจ่ายไฟมาค่อนข้างน้อยจึงอาจจะมีปัญหาในการจ่ายไฟให้กับซีพียูซ็อกเก็ตAM3 ดังนั้นเราจึงไม่ค่อยเห็นผู้ผลิตเมนบอร์ดพูดถึงการนำซีพียูซ็อกเก็ต AM3 มาใส่ในเมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM2 มากนัก)


รูปนี้แสดงให้เห็นว่าซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต AM3 สามารถนำไปใช้กับเมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM2+ ได้ แต่ว่าซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต AM2+ ไม่สามารถนำมาใช้กับเมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM3 ได้

Socket ของอินเทล
            ทีแรกก็ดูเหมือนว่าซ็อกเก็ตของอินเทลจะไม่สร้างความสับสนวุ่นวายเหมือนกับซ็อกเก็ตจากทางฝั่งเอเอ็มดี เพราะปัจจุบันเราจะพบซ็อกเก็ตอยู่สองแบบคือ LGA775 ที่ใช้กับซีพียูในตระกูล Core 2, Pentium และ Celeron ส่วนซ๊พียูรุ่นล่าสุดอย่าง Core i7 ก็จะใช้ซ็อกเก็ตแบบ LGA1366 แต่ตอนนี้เราคงต้องทำความรู้จักกับซ็อกเก็ต LGA1156เพิ่มอีกหนึ่งซ็อกเก็ต เพราะว่าปลายปีนี้อินเทลได้วางแผนที่จะเปิดตัวซีพียูและแพลตฟอร์มใหม่ออกมาอีกแล้ว

Socket LGA775: (เปิดตัวครั้งแรกในปี 2004)

ซ็อกเก็ต LGA775 ช่วงที่ออกมาใหม่ๆ นี่ฮือฮามาก เพราะขาที่ตัวซีพียูหายไป
แต่จะมาอยู่ที่ซ็อกเก็ตแทน

            จะว่าไปแล้วซ็อกเก็ต LGA775 นี่ถือว่าเป็นการปฏิวัติครั้งสำหรับของรูปแบบการใช้แพ็คเกจของซีพียูเลยก็ว่าได้ เพราะปกติตัวพินหรือขาจะอยู่ที่ตัวซีพียู แต่สำหรับซ็อกเก็ต LGA775 นั้น พินจะมาอยู่ที่ซ็อกเก็ตบนเมนบอร์ดแทน ขาที่เคยอยู่บนตัวซีพียูก็กลายเป็นจุดหรือหน้าสัมผัสที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อซีพียูเข้ากับเมนบอร์ดแทน มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้อินเทลจำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบของแพ็คเกจซีพียูรวมทั้งทำให้ต้องเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาของซ็อกเก็ตด้วย หนึ่งในนั้นก็คือจำนวนพินที่เพิ่มขึ้นมากมายทำให้ไม่สามารถวางตำแหน่งพินบนตัวซีพียูได้มากเหมือนเดิม และนับวันจำนวนพินก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย อีกประการที่สำคัญก็คือเรื่องของการระบายความร้อนออกจากตัวซีพียู การนำพินหรือขาออกจากซีพียูไปทำให้การระบายความร้อนของซีพียูทำได้ดีขึ้นด้วย หากใครจำชื่อของซีพียูที่ใช้รหัสว่าPrescott คงจะรู้ดีว่ามันทำงานได้ร้อนขนาดไหน

Socket LGA1366: (เปิดตัวครั้งแรกในปี 2009)

ลักษณะของซ็อกเก็ต LGA1366 มีการเรียงทิศทางของพินสวนทางกันอย่างละครึ่ง
เพื่อให้เกิดความสมดุลนั่นเอง

            หากอินเทลไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของซีพียูครั้งใหญ่อย่างที่เกิดขึ้นกับ Core i7 เราก็คงยังสามารถใช้ซ็อกเก็ต LGA775 ต่อไปได้ แต่ด้วยการที่อินเทลนำชิปเซตนอร์ธบริจด์ที่ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญก็คือวงจรควบคุมการทำงานของหน่วยความจำไว้บนตัวซีพียูด้วย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อินเทลต้องทำการเปลี่ยนแปลงซ็อกเก็ตใหม่อีกครั้ง สำหรับซ็อกเก็ต LGA1366 นั้น ได้ถูกนำไปใช้งานบนเครื่องระดับเซิร์ฟเวอร์และเวิร์คสเตชันอีกด้วย ซึ่งจะว่าไปแล้วสถาปัตยกรรมที่อยู่ใน Core i7 นั้น มันถูกออกแบบมาให้เป็นซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์มากกว่าจะเป็นซีพียูในระดับเดสก์ท็อปด้วยซ้ำไป

Socket LGA1156: (เปิดตัวครึ่งหลังของปี 2009)

การวางตำแหน่งของพินต่างๆ ในซ็อกเก็ต LGA1156 จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับซ็อกเก็ต LGA1366

            สำหรับซ็อกเก็ต LGA1156 ในตอนนี้มีเมนบอร์ดของจริงออกวางจำหน่ายแล้ว และก็ต้องบอกว่าซ็อกเก็ตLGA1156 นี่แหละที่จะเข้ามาทดแทนซ็อกเก็ต LGA775 แต่ว่าคงจะไม่ใช่ภายในเดือนสองเดือน แต่คงจะใช้เวลาอย่างน้อยๆ อีกสักสองปี เพราะช่วงเวลาที่ซ็อกเก็ต LGA775 อยู่ในท้องตลาดนั้นก็ต้องถือว่านานพอสมควรคือเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2004 โน่นเลยทีเดียว ดังนั้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็จะมีผู้ใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต LGA775 มากอยู่พอสมควร ดังนั้นอินเทลก็ยังคงมีซีพียูสำหรับซ็อกเก็ต LGA775 ออกมาอยู่อีกพักใหญ่ๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำการอัปเกรดได้อีกสักช่วงเวลาหนึ่ง
            ซีพียูที่จะถูกนำมาใช้งานร่วมกับซ็อกเก็ต LGA1156 นั้นก็จะเป็นซีพียูรุ่นใหม่ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบเดียวกันกับซีพียู Core i7 ที่เป็นซ็อกเก็ต LGA1366 ส่วนซีพียูที่จะออกมารองรับซ็อกเก็ต LGA1156 นั้นก็จะมีซีพียูที่ชื่อว่าCore i5 และข้อมูลล่าสุดก็มีออกมาอีกว่าอินเทลจะมีซีพียู Core i7 รุ่นเล็กที่เป็นซ็อกเก็ต LGA1156 มาอีกเช่นกัน เห็นไหมว่าความสับสนมันมากันอีกแล้ว งานนี้ก็ต้องเตรียมรับมือให้ดีๆ

วางแผนการอัปเกรด
            ถ้าดูจากข้อมูลที่เรานำเสนอมาทั้งหมดนี้เราก็จะพบว่าทั้งอินเทลและเอเอ็มดีก็จะมีซ็อกเก็ตอยู่ในตลาดหลักๆ ด้วยกันคนละ ซ็อกเก็ต คือทางเอเอ็มดีก็มี AM2, AM2+ และ AM3 ส่วนอินเทลก็มี LGA775, LGA1366 และLGA1156 แต่ในระยะเวลาอันใกล้นี้ซ็อกเก็ต AM2 ก็จะหายไปและเหลือกแต่ AM2+ กับ AM3 เป็นหลัก แต่สำหรับอินเทลตอนนี้ก็มีซ็อกเก็ตอยู่ในตลาดสามซ็อกเก็ตคือ LGA775, LGA1366 และ LGA1156 อย่างไรก็ตาม LGA775 ก็ยังคงอยู่อย่างน้อยอีก 18 เดือน ดังนั้นผู้ที่ใช้ซีพียูอินเทลก็จะมีทางเลือกมากมายถึงสามรูปแบบ ซึ่งก็อาจจะทำให้เกิดความสับสนได้พอสมควรในช่วงแรกๆ
            มาดูทางด้านผู้ใช้ซีพียูเอเอ็มดีกันหน่อยว่ามีทางเลือกในการใช้งานอย่างไรบ้าง เพราะตอนนี้มีของในตลาดครบหมดแล้วทั้งซีพียูและเมนบอร์ด
            ผู้ใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM2 : เมื่อเรารู้ข้อมูลแบบนี้แล้วเราก็พอที่จะวางแผนการอัปเกรดกันได้บ้างแล้วนะครับ โดยสำหรับผู้ใช้ทั้งซีพียูและเมนบอร์ดที่เป็นซ็อกเก็ต AM2 อยู่ ก็มีทางเลือกอยู่สองทางใหญ่ๆ เลยคือเปลี่ยนยกชุดทั้งซีพียูและเมนบอร์ด หรือทางเลือกที่สองคือเปลี่ยนไปใช้เมนบอร์ดแบบซ็อกเก็ต AM2+ ซึ่งก็จะทำให้มีทางเลือกในการนำซีพียูเดิมมาใช้ได้ แล้วรอเปลี่ยนเป็นซีพียูแบบซ็อกเก็ต AM2+ และยังพร้อมที่จะอัปเกรดไปใช้ซีพียูแบบซ็อกเก็ต AM3 ได้อีกในภายหลัง
            ผู้ใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM2+ : ส่วนใครที่ใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM2+ อยู่ในขณะนี้ไม่ว่าคุณจะใช้ซีพียูแบบ AM2 หรือ AM2+ อยู่ก็ตามคุณก็มีทางเลือกในการใช้ซีพียูมากมาย ไม่ว่าจะเป็นซีพียูแบบซ็อกเก็ต AM2+ เองตอนนี้ก็มีออกมาให้เลือกใช้หลายรุ่น หรือถ้าจะคิดไปคบกับซ็อกเก็ต AM3 ก็น่าสนใจไม่น้อย แต่ต้องตรวจสอบก่อนว่าเมนบอร์ดของคุณรองรับซีพียูแบบซ็อกเก็ต AM3 หรือใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะรองรับอยู่แล้ว แต่อาจจะต้องทำการอัปเกรดไบออสเท่านั้นเอง ซึ่งการอัปเกรดไบออสส่วนใหญ่ก็จะเป็นการอัปเกรดเพื่อให้มีข้อมูลการใช้ไฟของซีพียูรุ่นใหม่นั่นเอง
            ผู้ใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM3 : สำหรับเสือปืนไวที่ได้เลือกซื้อเลือกใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM3 ไปแล้ว แน่นอนว่าทางเลือกเดียวของคุณก็คือ ไปซื้อซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต AM3 มาใช้ซะ เพราะเมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM3 ไม่รองรับซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต AM2 และ AM2+
มาดูทางผู้ใช้ซีพียูกับเมนบอร์ดของอินเทลกันบ้าง
            ผู้ใช้เมนบอร์ด LGA775: แม้ว่าตอนนี้จะมีซ็อกเก็ต LGA1366 และข่าวเรื่อง LGA1156 ออกมาแล้ว ผู้ที่ใช้เมนบอร์ด LGA775 อยู่ก็ไม่ต้องตกอกตกใจว่าจะเป็นคนตกรุ่น เพราะอินเทลยังมีการผลิตซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต LGA775ออกมาอีกอย่างน้อยๆ ก็สองปี และซีพียูที่จะผลิตออกมานั้น ก็มีทั้งรุ่นที่เป็นประสิทธิภาพสูงในระดับ Quad-Core และรุ่นเล็กที่เป็นแบบ Dual-Core แต่สิ่งที่ผู้ใช้เมนบอร์ด LGA775 ต้องคำนึงก่อนที่จะทำการอัปเกรดซีพียูก็คือ ต้องตรวจสอบชิปเซตที่ตนใช้อยู่ว่าเป็นรุ่นไหน สามารถรองรับการทำงานของซีพียูที่มีบัสความเร็วเท่าไร ซึ่งตรงนี้คุณสามารถเข้าไปตรวจสอบได้โดยตรงจากเว็บไซต์ผู้ผลิต หรือจะดูจากคู่มือของเมนบอร์ดก็ได้ แต่ว่าถ้าไปดูในเว็บไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดก็จะดีตรงนี้เขาจะทำการลิสต์รายชื่อซีพียูรุ่นที่เมนบอร์ดตัวนั้นๆ รองรับเอาไว้ด้วย
            ผู้ใช้เมนบอร์ด LGA1366: สำหรับผู้ใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต LGA1366 ก็ถือว่าคุณมีเครื่องระดับเทพอยู่ในมือ ซีพียูที่คุณใช้อยู่นี้แม้ว่าจะเป็นรุ่นเล็กสุดแต่มันก็มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงมาก การอัปเกรดในช่วงเวลานี้จึงยังไม่ใช่สิ่งจำเป็น ยกเว้นว่าคุณจะมีเงินเหลือเฝือที่จะซื้อซีพียูรุ่นใหม่ๆ ที่มีชื่อรหัสว่า Gulftown ที่มีคอร์มากถึง คอร์ ซึ่งมันจะเร็วกว่า Core i7 รุ่นที่เร็วที่สุดซึ่งเป็นซีพียูแบบ Quad-Core อย่างแน่นอน
            ผู้ที่รอคอย LGA1156: มีผู้คนจำนวนไม่น้อยนะครับที่ทราบว่าซ็อกเก็ต LGA1156 นี้จะเข้ามาทดแทนซ็อกเก็ต LGA775 ในปัจจุบัน ซึ่งทำให้เขาเหล่านั้นยังไม่ทำการอัปเกรดไปใช้ LGA1366 ที่มีราคาค่อนข้างแพงทั้งซีพียูและเมนบอร์ด เพราะสองอย่างนี้ก็ต้องใช้เงินประมาณ หมื่นบาท ถึงจะเป็นเจ้าของได้ นี่ยังไม่รวมราคาของหน่วยความจำแบบ DDR3 เข้าไปด้วย เนื่องจากอินเทลตั้งใจให้ LGA1156 เป็นแพลตฟอร์มสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ดังนั้นทั้งตัวซีพียูและตัวเมนบอร์ดรวมไปถึงอุปกรณ์อื่นๆ จึงต้องถูกออกแบบมาไม่ให้มีราคาสูงจนเกินไป ราคาของเมนบอร์ดซ็อกเก็ตLGA1156 นั้นจะมีราคาตั้งแต่สามพันบาทขึ้นไป ในขณะที่ LGA1366 ต้องใช้เงินถึงเจ็ดพันกว่าบาทจึงจะเป็นเจ้าของได้ ด้วยราคาตรงนี้เราจึงเห็นได้ว่า LGA1156 นั้นจะกลายเป็นเมนบอร์ดมาตรฐานของอินเทลในช่วงหนึ่งถึงสองปีนี้อย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น