วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557



เทคโนโลยีที่น่าสนใจ 2014



อัพเดท Gadget ใหม่น่าจับตาปี 2014
ในปี 2013 ที่ผ่านมา เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งปีที่มี Gadget ใหม่ๆ เปิดตัวมากมาย ทั้งเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ อย่างนาฬิกาไฮเทค SmartWatch แว่นตาไฮเทค Google Glasses รวมไปถึงอุปกรณ์เพิ่มความสามารถให้กับ Smart Phone ทำให้โทรศัพท์มือถือทำอะไรได้มากกว่าแค่การโทรออก-รับสายเท่านั้น สำหรับปี 2014 เทคโนโลยีที่น่าจับตามอง คงไม่พ้นเรื่อง การวางจำหน่าย Google Glasses อย่างเป็นทางการ, นาฬิกาไฮเทคจากแบรนด์ดังต่างๆ ที่พร้อมให้ได้จับจอง, สมาร์ททีวีที่สั่งการโดยการเคลื่อนไหว รวมไปถึง การเปิดตัวของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของบริษัท Apple และ Samsung
1. วางจำหน่าย Google Glasses อย่างเป็นทางการ
ในปี 2014 Google Glasses แว่นตาไฮเทค จะออกวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ โดยบุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถจับจองเป็นเจ้าของได้แล้ว หลังจากปีที่แล้วผู้สนใจต้องเสียค่าใช้จ่าย ราว 1,500 เหรียญ ถึงมีโอกาสได้ทดลองใช้ ด้านคุณสมบัติเด่นที่ทำให้หลายคนอยากเป็นเจ้าของ Google Glasses ก็คงเป็นฟังค์ชั่นเด็ดๆ เช่น การแสดงข้อมูลเส้นทางการเดินทางซอฟท์แวร์แผนที่แบบละเอียดยิบ พร้อมกันนี้ยังสามารถเปิดเว็บท่องอินเทอร์เน็ตได้ในขณะที่กำลังเคลื่อนไหวอีกด้วย
2. จับตานาฬิกาไฮเทคจากแบรนด์ดังต่างๆ  
กูรูวงการไอทีหลายคนฟันธงว่า ในปี 2014 นาฬิกาไฮเทคจะได้รับความนิยมอย่างสูง โดยหลายต่อหลายบริษัท เตรียมออกผลิตภัณฑ์จำหน่ายกันแล้ว Samsung เตรียมเข็ญนาฬิกาอัจฉริยะรุ่นใหม่ลงตลาด หลังจากรุ่นก่อนที่เปิดตัวในปีที่ผ่านมาไม่ค่อยประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ ด้าน Apple ก็ไม่น้อยหน้าเตรียมส่ง iWatch สุดยอดนาฬิกาไฮเทคที่สาวก Apple ต่างรอคอย ว่ากันว่า iWatch จะมาพร้อมหน้าจอชนิดที่โค้งงอได้ แถมพรั่งพร้อมไปด้วยแอพพลิเคชั่นต่างๆ มากมาย ที่สำคัญ iWatch ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานด้านออกกำลังกายโดยเฉพาะ นอกจากนี้ iWatch ยังใช้ระบบ Bluetooth แบบพลังงานต่ำ ทำให้เชื่อมต่อกับ iPhone เพื่อดูการแจ้งเตือนต่างๆได้นานยิ่งขึ้น
3. สมาร์ททีวีสั่งการโดยการเคลื่อนไหว
ในปี 2014 จะเป็นอีกก้าวหนึ่งของสมาร์ททีวี เพราะโทรทัศน์จะมีความก้าวล้ำนำหน้า ผู้ใช้สามารถควบคุมหรือสั่งการโดยใช้ท่าทางและการเคลื่อนไหวต่างๆ แบบไม่ต้องพึ่งพารีโมทอีกต่อไป ขณะเดียวกันสมาร์ททีวีรุ่นใหม่ๆ ยังใช้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับชมข้อมูลข่าวสารทั้งในและต่างประเทศได้อีกด้วย นอกจากนี้ซอฟต์แวร์บนสมาร์ททีวีก็ถูกพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้น เห็นได้จากข่าวลือของการประกาศแผนปรับปรุงซอฟต์แวร์ทั้งของ Samsung และ LG ตลอดจนการเปิดตัว Android TV ของ Google
4. iPhone รุ่นใหม่ หน้าจอใหญ่ขึ้นแน่นอน
ถ้าพูดถึงมือถือยอดฮิต เชื่อว่าหลายคนคงยกให้ iPhone อย่างแน่นอน จึงไม่แปลกที่ทุกสายตาจะจับจ้องว่า ในปี 2014 จะมีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้นกับ iPhone บ้าง ล่าสุดมีข่าวลือหลุดออกมาอีกระลอกจากวงในของ Foxconn ว่า Appla เตรียมวางจำหน่าย  iPhone รุ่นต่อไปพร้อมกันถึงสองขนาด  คือหน้าจอ 4.7 นิ้ว และหน้าจอ 5.7 นิ้ว พร้อมกันนี้ยังมีข่าวแว่วแว่วมาอีกว่า iphone รุ่นใหม่นี้มาพร้อมฟังค์ชั่นเด็ด EYE ID สแกนม่านตา เพื่อปลดล็อค แทน Touch ID ด้าน iPad ยักษ์ 12 นิ้ว ก็คาดว่าน่าจะได้เห็นกันภายในปี 2014 แน่นอน
5. Samsung Galaxy Round  มือถือจอโค้ง
มือถือจอโค้งจาก Samsung เปิดตัวและวางขายแล้วในเกาหลีเมื่อปีที่ผ่านมา แม้ยอดขายจะไม่ดีนัก แต่ยังไงเสียการเปิดตัวในครั้งนั้นก็ถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง ในปี 2014 คาดว่าทาง  Samsung จะพัฒนามือถือจอโค้งให้โดนใจผู้ใช้มากขึ้น โดยรายงานข่าวแจ้งว่า Galaxy Round 2 น่าจะเปิดตัวและวางขายทั่วโลกภายในปีนี้  นอกจากมือถือจอโค้งที่หลายคนเฝ้าติดตาม Samsung Galaxy รุ่นใหม่ก็ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะมีข่าวลือว่า Samsung เตรียมเปิดตัว Galaxy รุ่นใหม่ในเร็ววันนี้  ด้านจุดเด่น คงเป็นตัวเครื่องที่จะทำมาจากวัสดุที่เป็นโลหะ หน้าจอขนาด 5 นิ้ว ระบบปฏิบัติการ Android รุ่น KitKat ใหม่ล่าสุด พร้อมกล้องขนาด 16 ล้านพิกเซล แถมอาจมีการเปิดตัวรุ่นที่ตัวเครื่องเป็นพลาสติกอีกด้วย
อุปกรณ์ไฮเทค เน้นความสามารถด้านสุขภาพ
หลังจากปีที่แล้วเริ่มมีนวัตกรรมใหม่ๆ เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น ปีนี้คงเป็นอีกหนึ่งปีที่อุปกรณ์จำพวกเทคโนโลยีเกี่ยวกับสุขภาพและการออกกำลังกายจะได้รับความนิยมอย่างสูง โดยแอพพลิเคชั่นต่างๆ จากทั้งโทรศัพท์มือถือ สายรัดข้อมือ รวมไปถึงนาฬิกาอัจฉริยะต่างๆ ก็เน้นฟังค์ชั่นเรื่องสุขภาพมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อรองรับจำนวนผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพที่เพิ่งสูงขึ้นทุกปี
ทั้งหมดนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ Gadget ที่น่าสนใจเท่านั้น ในปีนี้คาดหมายว่าคงมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ของบริษัทชั้นนำต่างๆ มากมาย สำหรับชาว SCB SME สนใจอยากเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ชิ้นไหนก็อย่าลืมศึกษารายละเอียดให้ครบถ้วนรอบด้าน เพื่อจะได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Consumer Electronics Show หรือ CES ในปี 2014 ณ ลาส เวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กำลังจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 7-10 มกราคมนี้ ถือเป็นงานอีเวนท์ใหญ่ที่เสมือนการลั่นกลองรบของแต่ละบริษัทด้านไอทีจากทั่วโลกต่อการจัดแสดงเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมล่าสุด อันเป็นการบ่งบอกถึงความก้าวหน้าที่ผู้บริโภคจะได้สัมผัสจริงในอนาคตและก่อน CES 2014จะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการถือเป็นโอกาสอันดีที่เราจะมาวิเคราะห์กันว่า แนวโน้มเทคโนโลยีที่จะได้เห็นจากงานนี้จะเป็นอะไรกันบ้าง ไปลองดูกันครับ
ces-2014-in-las-vegas
1. ทีวี ความละเอียดแบบ 4K
ทีวี แบบ 4K หรือความละเอียดระดับ Ultra HD นับเป็นเทคโนโลยีใหญ่ที่สุดเมื่อ CES 2013 ซึ่งมีความคมชัดมากกว่า HD อย่างไรก็ตามราคาที่ค่อนข้างสูงของทีวีแบบ 4K ทำให้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายตามบ้านเรือนนัก ประกอบกับคอนเทนต์ส่วนใหญ่ยังอยู่ระบบ HD ปกติเท่านั้น ฉะนั้นใน CES 2014 จะเป็นอีกหนึ่งครั้งที่เราจะได้เห็นนวัตกรรมการชมภาพและเสียงในแบบ 4K ที่พัฒนาขึ้นจากเมื่อปีที่แล้ว
2. สมาร์ททีวี
ถัดจากความละเอียดแบบ 4K แล้ว อีกเรื่องที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้คือความอัจฉริยะของทีวีหรือที่เราเรียกกันว่า “สมาร์ททีวี” ผมเชื่อว่าตามบ้านเรือนหรือคอนโดของท่านผู้อ่านน่าจะได้ใช้และรู้ถึงคุณสมบัติของสมาร์ททีวีที่เป็นมากกว่าทีวีทั่วๆไป ดังนั้นในCES 2014 จะเป็นอีกหนึ่งก้าวของสมาร์ททีวีที่จะทันสมัยขึ้น ผู้ใช้สามารถควบคุมได้โดยใช้ท่าทางความเคลื่อนไหวแบบไม่พึ่งรีโมท ขณะเดียวกันสมาร์ททีวียังใช้การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้ใช้สามารถรับชมคอนเทนต์จากต่างประเทศได้  นอกจากนี้ซอฟต์แวร์บนสมาร์ททีวีก็จะถูกเพิ่มพลังขึ้น เห็นได้จากข่าวลือของการประกาศแผนปรับปรุงซอฟต์แวร์ทั้งของSamsung และ LG ตลอดจนการเปิดตัว Android TV ของ Google
3. อุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้านอัจฉริยะ
เครื่องใช้ภายในบ้านถือเป็นสิ่งใกล้ตัวที่เราจะต้องหยิบจับหรือใช้งานอยู่เป็นประจำ แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจึงไม่น่าแปลกใจที่บริษัทผู้ผลิตจะหันมาใส่ใจและพัฒนาเครื่องใช้ภายในบ้านให้มีความทันสมัยมากขึ้น และในงาน CES 2014 นี้ก็เป็นโอกาสที่ดีที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ภายในบ้านจะนำเสนอนวัตกรรมล่าสุดที่มีความอัจฉริยะหรือสามารถสั่งงานผ่านโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตได้ ยกตัวอย่างเช่น LG ได้ร่วมกับแอพพลิเคชั่น LINE เปิดบริการที่เรียกว่า HomeChat ที่จะให้ผู้ใช้ควบคุม หรือสั่งงานเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านได้ เป็นต้น
4. โทรศัพท์มือถือแบรนด์ Intel
แม้ Intel จะขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ผลิตชิปประมวลผลข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับโลก แต่พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปเป็นโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตกันมากขึ้น ทำให้ Intel จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่ผู้บริโภคเน้นอุปกรณ์พกพาเป็นหลัก ฉะนั้นจากการผลิตชิปประมวลผลสำหรับคอมพิวเตอร์อย่างเดียวก็จะพัฒนาสู่การผลิตชิปเพื่อโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตมากขึ้น รวมไปถึงการเดินหน้าผลิตฮาร์ดแวร์อย่างโทรศัพท์มือถือในแบรนด์ Intel ขึ้นมาเอง
5. อีกหนึ่งก้าวของ Wearable Technology
เมื่อปี 2013 ถือเป็นปีของการชิมลางของตลาด Wearable Technology หรือแก็ดเจ็ตประเภทสวมใส่บนร่างกาย และในปี 2014 นับเป็นปีแห่งการพัฒนาและต่อยอด ซึ่งจากคาดการณ์เชื่อว่าในงาน CES 2014 เราจะได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ๆประเภทสวมใส่บนร่างกายมากขึ้น ที่ไม่พลาดแน่ๆ คือ Swartwatch นาฬิกาข้อมืออัจฉริยะ หรือจะเป็นสายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพ ส่วนจะมีอะไรที่เซอร์ไพรส์มากว่านี้หรือไม่นั้น คงต้องติดตามหลังจากนี้เป็นต้นไปครับ

เทคโนโลยีกังหันลม

 
 
   
 พลังงานลม เป็นพลังงานจากธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ มนุษย์เราได้ใช้ประโยชน์จากพลังงานลมมานานหลายพันปี ในการอำนวยความสะดวกสบายแก่ชีวิต เช่น การแล่นเรือใบขนส่งสินค้าไปได้ไกลๆ การหมุนกังหันวิดน้ำ การหมุนโม่หินบดเมล็ดพืชให้เป็นแป้ง ในปัจจุบันมนุษย์จึงได้ให้ความสำคัญและนำมาใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยการนำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า เนื่องจากพลังงานลมมีอยู่โดยทั่วไป ไม่ต้องซื้อ เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่รู้จักหมดสิ้น “ กังหันลม ” เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้้สกัดพลังงานจลน์ของกระแสลม และเปลี่ยนให้เป็นให้เป็นพลังงานกล จากนั้นจึงนำพลังงานกลมาใช้ประโยชน์ กล่าวคือ เมื่อกระแสลมพัดผ่านใบกังหัน จะเกิดการถ่ายทอดพลังงานจลน์ไปสู่ใบกังหัน ทำให้กังหันหมุนรอบแกน สามารถนำพลังงานจากการหมุนนี้ไปใช้งานได้
กังหันลมที่ใช้กันมากในประเทศไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่ กังหันลมแบบใบกังหันไม้ ใช้สำหรับฉุดระหัดวิดน้ำเข้านาข้าวบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา กังหันลมใบเสื่อลำแพน ใช้ฉุดระหัดวิดน้ำเค็มเข้านาเกลือบริเวณ จังหวัดสมุทรสงคราม และกังหันลมแบบใบกังหันหลายใบ ทำด้วยแผ่นเหล็กใช้สำหรับสูบน้ำจากบ่อน้ำบาดาลขึ้นไปเก็บในถังกักเก็บ ส่วนการใช้กังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ายังอยู่ในระหว่างการทดสอบและพัฒนาอยู่
   
  

  ชนิดของกังหันลม

  
  ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีกังหันลมเพื่อใช้สำหรับผลิตไฟฟ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศทั่วโลกได้ให้ความสนใจ โดยเฉพาะในทวีปยุโรป เช่น ประเทศเดนมาร์ก กังหันลมที่ได้มีการพัฒนากันขึ้นมานั้นจะมีลักษณะและรูปร่างแตกต่างกันออกไป แต่ถ้าจำแนกตามลักษณะแนวแกนหมุนของกังหันจะได้ 2 แบบ คือ
   
  1. กังหันลมแนวแกนนอน (Horizontal Axis Wind Turbine)
เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับทิศทางของลมโดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม มีอุปกรณ์ควบคุมกังหันให้หันไปตามทิศทางของกระแสลม เรียกว่า หางเสือ และมีอุปกรณ์ป้องกันกังหันชำรุดเสียหายขณะเกิดลมพัดแรง เช่น ลมพายุและตั้งอยู่บนเสาที่แข็งแรง กังหันลมแบบแกนนอน ได้แก่ กังหันลมวินด์มิลล์ ( Windmills) กังหันลมใบเสื่อลำแพน นิยมใช้กับเครื่องฉุดน้ำ กังหันลมแบบกงล้อจักรยาน กังหันลมสำหรับผลิตไฟฟ้าแบบพรอบเพลเลอร์ (Propeller)
   
  
   
กังหันลมแบบแนวแกนนอน (Horizontal Axis Wind Turbine)

  2. กังหันลมแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine)
เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนและใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ ซึ่งทำให้สามารถรับลมในแนวราบได้ทุกทิศทาง
  
  
   
กังหันลมแบบแนวแกนตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine)

   
  กังหันลมแบบแนวแกนนอนเป็นแบบที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ส่วนมากออกแบบให้เป็นชนิดที่ขับใบกังหันด้วยแรงยก แต่อย่างไรก็ตาม กังหันลมแบบแนวแกนตั้ง ซึ่งได้รับการพัฒนามากในระยะหลังก็ได้รับความสนใจมากขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากข้อดีกว่าแบบแนวแกนนอนคือ ในแบบแนวแกนตั้งนั้นไม่ว่าลมจะเข้ามาทิศไหนก็ยังหมุนได้ โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ควบคุมให้กังหันหันหน้าเข้าหาลม นอกจากนี้แล้วแบบแนวแกนตั้งนั้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบการส่งกำลังวางไว้ใกล้พื้นดินมากกว่าแบบแกนนอน เวลาเกิดปัญหาแก้ไขง่ายกว่าแบบแกนนอนที่ติดอยู่บนหอคอยสูง
   
  
 

  ส่วนประกอบของระบบกังหันลมขนาดใหญ่สำหรับผลิตไฟฟ้า

 
ี้ส่วนประกอบสำคัญๆ ของระบบกังหันลมทั่วๆ ไปอาจแบ่งได้ดังนี้ 
1. ใบพัด เป็นตัวรับพลังลมและเปลี่ยนให้เป็นพลังงานกล ซึ่งยึดติดกับชุดแกนหมุนและส่งแรงจากแกนหมุนไปยังเพลาแกนหมุน
 
2. เพลาแกนหมุน ซึ่งรับแรงจากแกนหมุนใบพัด และส่งผ่านระบบกำลัง เพื่อหมุนและปั่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
 
3. ห้องส่งกำลัง ซึ่งเป็นระบบปรับเปลี่ยนและควบคุมความเร็วในการหมุน ระหว่างเพลาแกนหมุนกับเพลาของเคริ่องกำเนิดไฟฟ้า
 
4. ห้องเครื่อง ซึ่งมีขนาดใหญ่และมีความสำคัญต่อกังหันลม ใช้บรรจุระบบต่างๆ ของกังหันลม เช่น ระบบเกียร์ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เบรก และระบบควบคุม
 
5. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้า
 
6. ระบบควบคุมไฟฟ้า ซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการทำงาน และจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ
 
 
7 . ระบบเบรค เป็นระบบกลไกเพื่อใช้ควบคุมการหยุดหมุนของใบพัดและเพลาแกนหมุนของกังหัน เมื่อได้รับความเร็วลม เกินความสามารถของกังหัน ที่จะรับได้ และในระหว่างการซ่อมบำรุงรักษา
  
 8 . แกนคอหมุนรับทิศทางลม เป็นตัวควบคุมการหมุนห้องเครื่อง เพื่อให้ใบพัดรับทิศทางลมโดยระบบอิเลคทรอนิคส์ ที่เชื่อมต่อให้มีความสัมพันธ์ กับหางเสือรับทิศทางลมที่อยู่ด้านบนของเครื่อง
  
 9 . เครื่องวัดความเร็วลมและทิศทางลม ซึ่งเชื่อมต่อสายสัญญาณเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นตัวชี้ขนาดของความเร็วและทิศทางของลม เพื่อที่คอมพิวเตอร์จะได้ควบคุมกลไกอื่นๆ ได้ถูกต้อง
  
 10 . เสากังหันลม เป็นตัวแบกรับส่วนที่เป็นตัวเครื่องที่อยู่ข้างบน
  
  
 

  กังหันลมกับการผลิตไฟฟ้า

 
หลักการทำงานของกังหันลมผลิตไฟฟ้านั้น เมื่อมีลมพัดผ่านใบกังหัน พลังงานจลน์ที่เกิดจากลมจะ ทำให้ใบพัดของกังหันเกิดการหมุน และได้เป็นพลังงานกลออกมา พลังงานกลจากแกนหมุนของกังหันลมจะถูกเปลี่ยนรูปไปเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่เชื่อมต่ออยู่กับแกนหมุนของกังหันลม จ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านระบบควบคุมไฟฟ้า และจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบต่อไป โดยปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของลม ความยาวของใบพัด และสถานที่ติดตั้งกังหันลม
 

 


เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน
 

  กังหันลมกับการใช้งาน

 
เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอของความเร็วลมที่แปรผันตามธรรมชาติ และความต้องการพลังงานที่สม่ำเสมอเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแล้ว จะต้องมีตัวกักเก็บพลังงานและใช้แหล่งพลังงานอื่นที่เชื่อถือได้เป็นแหล่งสำรอง หรือใช้ร่วมกับแหล่งพลังงานอื่น
  
 
  • ตัวกักเก็บพลังงานมีอยู่หลายชนิด ส่วนมากขึ้นอยู่กับงานที่จะใช้
    เช่น ถ้าเป็นกังหันเพื่อผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมักนิยมใช้แบตเตอรี่เป็นตัวกักเก็บพลังงาน
 
  • การใช้แหล่งพลังงานอื่นที่เป็นตัวหมุน ระบบนี้ปกติกังหันลมจะทำหน้าที่จ่ายพลังงานให้ตลอดเวลาที่มีความเร็วลมเพียงพอ หากความเร็วลมต่ำหรือลมสงบ แหล่งพลังงานชนิดอื่นจะทำหน้าที่จ่ายพลังงานทดแทน (ระบบนี้กังหันลมจ่ายพลังงานเป็นตัวหลักและแหล่งพลังงานส่วนอื่นเป็นแหล่งสำรอง )
 
  • การใช้ร่วมกับแหล่งพลังงานอื่น อาจเป็นเครื่องจักรดีเซล หรือพลังงานน้ำจากเขื่อน ฯลฯ ระบบนี้ปกติจะมีแหล่งพลังงานชนิดอื่นจ่ายพลังงานอยู่ก่อนแล้ว กังหันลมจะช่วยจ่ายพลังงานเมื่อมีความเร็วลมเพียงพอ ซึ่งในขณะเดียวกันก็จะลดการจ่ายพลังงานจากแหล่งพลังงานอื่น เช่น ลดการใช้น้ำมันดีเซลของเครื่องยนต์ดีเซล
    (ระบบนี้ แหล่งพลังงานอื่นจ่ายพลังงานเป็นหลัก ส่วนกังหันลมทำหน้าที่คอยเสริมพลังงานจากต้นพลังงานหลัก)
  

เทคโนโลยีการเพื่ออำนวยความสะดวก


อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้


เทคโนโลยี่ น่ารู้    อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้     
โดย  วันทนีย์ พันธชาติ ผศ.พุทธชาติ โปธิบาล อรอินทรา ภู่ประเสริฐ น้ำหนึ่ง มิตรสมาน ปิยดา สบายใจ สรินยา ชมภูบุตร
ที่มา   http://www.nectec.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=441:2010-03-04-09-13-08&catid=40:technology-news&Itemid=165
เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกต่อเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้มีหลากหลาย โดยเฉพาะในต่างประเทศ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้สามารถอยู่ร่วมห้องเรียน กับเด็กปกติอื่นๆ ได้ เทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกต่อบุคคลที่มีปัญหาด้านการ เรียนรู้ มีหลากหลาย โดยเฉพาะในต่างประเทศ 
ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้จัดอยู่ในสิ่งที่มีความสำคัญ การเปิดโอกาสให้บุคคลซึ่งมีปัญหา ด้านการเรียนรู้ ได้มีโอกาสอยู่ร่วมห้องเรียน กับเด็กปกติอื่นๆ หรือเป็นภาระของผู้อื่นให้น้อยที่สุด เทคโนโลยีในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำใช้เพื่อสร้างพัฒนาการสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการเขียน เทคโนโลยีที่ใช้ในการอ่าน เทคโนโลยีที่ใช้ในการฟัง และเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันเป็นส่วนมาก เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อช่วยการเขียน 
ตัวอย่างเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการเขียนมีตั้งแต่เทคโนโลยีแบบง่ายๆจนถึงเทคโนโลยีขั้นสูงได้แก่
ปากกาสะท้อนแสง 
ใช้เพื่อเน้นข้อความที่เป็นความคิดหลัก ความจริง และเนื้อหารายละเอียด เช่น ความหมาย ตัวเลข ชื่อคน และสถานที่ ที่จะช่วยให้การอ่านเพื่อไปทำแบบทดสอบ หรือเพื่อเก็บข้อมูลในการทำรายงาน นอกจากนี้ เราสามารถใช้ปากกาเน้นข้อความต่างๆ เพื่อจัดระเบียบความคิดได้ เช่นใช้สีน้ำเงินเพื่อเน้นข้อความที่เป็นความคิดหลัก ใช้สีเขียวเน้นส่วนที่เป็นข้อความสนับสนุน สีเหลืองเน้นวันที่ เป็นต้นเทปเน้นข้อความก็มีลักษณะการใช้เช่นเดียวกันกับปากกาเน้นข้อความ
ที่ช่วยจับดินสอ 
ที่ ช่วยจับดินสอ เป็นเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีแบบง่าย มีทั้งแบบที่ใช้ช่วยจับดินสอมือขวา และแบบมือซ้าย เพื่อช่วยให้มือจับดินสอได้มั่นคงขึ้น ไม่ลื่น มีหลายรูปทรง หลายขนาด การใช้ขึ้นอยู่กับทักษะของการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก จำเป็นต้องลองใช้หลายๆ แบบ จนมั่นใจว่าที่จับนี้เหมาะกับการเขียนของเด็ก
ที่วางหนังสือ
 เด็ก บางคนมีปัญหาเรื่องท่าทางในการนั่งเขียนหนังสือ ซึ่งส่งผลต่อการเขียน อาจจำเป็นต้องใช้ที่วางหนังสือเพื่อช่วยรองเขียน จะทำให้มีการจัดท่าทางการนั่งได้ถูกต้องมากขึ้น ที่วางหนังสือต้องมีพื้นหน้าสัมผัสเรียบ เอียงได้มุมพอดีในการวางข้อมือเพื่อช่วยการเขียน อาจจะทำด้วยพลาสติก ไม้ หรือกระดาษแข็ง บางแบบจะมีที่วางแขนด้วย
กระดาษพิเศษ 
เด็ก ที่มีปัญหาการเขียนตัวโต เกินบรรทัด เล็กกว่าบรรทัด แม้ว่าจะใช้กระดาษที่มีเส้นแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมมือให้เขียนได้ตามเส้นบรรทัด ซึ่งอาจจะเป็นปัญหามาจากการรับความรู้สึกด้านการเห็น มีสายตาเลือนลาง มีความบกพร่องด้านการประสานงานของมือและตา หรือมีปัญหากล้ามเนื้อมือ วิธีที่จะช่วยได้ก็คือให้ใช้กระดาษที่มีเส้นนูนขึ้นด้าหน้า เพื่อเด็กจะได้รู้ว่าจะเริ่มต้นเขียนที่ไหน และหยุดตรงไหน และได้รับความรู้สึกถึงขอบของเส้นที่กำลังเขียน ซึ่งช่วยให้เห็นและรู้สึกถึงการเขียนได้ทันที
โปรแกรมประมวลผลคำ เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในด้านการเขียน เช่น การเขียนด้วยลายมือตัวโตบ้าง เล็กบ้าง การสะกดคำผิด มีปัญหาในการเรียบเรียงความคิดในการเขียน เมื่อเขียนด้วยมือจะลบอยู่ตลอดเวลา เพราะเขียนผิดบ้าง ต้องการเขียนใหม่บ้าง ทำให้ขาดความมั่นใจในการเขียน ถ้ามีการเปลี่ยนจากการเขียนบนกระดาษเป็นการพิมพ์ลงบนโปรแกรมประมวลผลคำ วิธีนี้เด็กจะเห็นว่า การพิมพ์ทำให้มั่นใจมากขึ้น เพราะสามารถลบ พิมพ์ใหม่ เพิ่มข้อความ ตัดข้อความ ย้ายประโยค แก้คำผิดได้ทุกอย่าง รวมทั้งการขีดเส้นใต้ การทำตัวหนา การจัดชิดซ้าย ชิดขวา การจัดศูนย์กลาง เป็นต้น ผลการพิมพ์จะมีการตรวจเช็ค แก้ไข ก่อนพิมพ์ลงบนกระดาษ ซึ่งเรียบร้อย น่าอ่าน และอ่านง่ายขึ้น ถ้าโปรแกรมประมวลผลคำมีโปรแกรมสังเคราะห์เสียงติดตั้งด้วย จะช่วยเด็กได้โดยให้โปรแกรมอ่านข้อความเพื่อตรวจสอบความถูกต้องแต่เด็กจะต้องมีทักษะการได้ยินที่ดี
คีย์บอร์ดไร้สาย 
บางครั้งการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการพิมพ์ส่วนบุคคลอาจจะแพงสำหรับการใช้งาน ทางเลือกในการใช้การพิมพ์อีกทางหนึ่งคือ การใช้คีย์บอร์ดไร้สาย เพื่อการพิมพ์งานในชั้นเรียน สามารถลงโปรแกรมการทำงานได้ทั้งโปรแกรมการประมวลผลคำ โปรแกรม spread sheet และโปรแกรมเดต้าเบส คีย์บอร์ดไร้สายนี้จะมีหน้าจอเพื่อดูผลการพิมพ์ได้ประมาณ ๗ -๘ บรรทัด สูงสุดได้ ๑๖ บรรทัด มีโปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องของคำศัพท์ เก็บข้อความได้ ๔๐-๑๐๐ หน้า สามารถส่งคำสั่งให้พิมพ์จากเครื่องพิมพ์ได้หรือบันทึกแล้วถ่ายข้อมูลลงคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บข้อมูลต่อไปได้
โปรแกรมฝึกทักษะการพิมพ์ 
การที่เด็กจะพิมพ์ด้วยโปรแกรมประมวลผลคำได้ดีนั้น จำเป็นต้องผ่านการฝึกฝนการพิมพ์คีย์บอร์ดได้คล่อง จะช่วยให้เด็กใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ดี ดังนั้นก่อนจะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการพิมพ์ จะต้องเลือกโปรแกรมฝึกทักษะการพิมพ์ตามความสามารถของเด็ก เช่นเด็กเล็กมักจะชอบโปรแกรมที่สนุกสนาน เด็กประถมศึกษาจะชอบโปรแกรมที่มีรูปแบบเป็นทางการแต่ให้มีเกมส์เล่นฝึกทักษะ ร่วมด้วย ส่วนเด็กโตต้องการโปรแกรมที่มีระบบสำหรับพัฒนาทักษะ ผู้ที่สอนจำเป็นต้องเลือกโปรแกรมตามความถนัดของนักเรียน
โปรแกรมตรวจสอบการเขียน 
โปรแกรมนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโปรแกรมตรวจสอบไวยากรณ์ ใช้งานร่วมกับโปรแกรมประมวลผลคำ ทำหน้าที่ตรวจทานความผิดพลาดทางไวยากรณ์ สำหรับภาษาอังกฤษ เช่น การใช้เครื่องหมายวรรคตอน การใช้อักษรตัวใหญ่เล็ก และการใช้คำ วิธีการใช้งานก็คือ เมื่อเรียกใช้โปรแกรม ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจะถูกแสดงให้เห็นบนหน้าจอ เด็กจะได้รับโอกาสในการแก้ไขข้อความให้ถูกต้อง ก่อนสั่งพิมพ์ออกมาในกระดาษ ข้อเสียคือส่วนใหญ่โปรแกรมยังไม่สมบูรณ์ และไม่แม่นยำ จึงอาจจะยังใช้งานไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ
โปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องของคำ 
ส่วนใหญ่โปรแกรมนี้จะรวมอยู่ในโปรแกรมประมวลผลคำ มีหน้าที่ตรวจสอบคำที่สะกดผิด และแสดงให้เห็นว่ามีคำไหนบ้างที่สะกดผิด พร้อมกับเสนอแนะคำที่สะกดถูกต้องให้ บางโปรแกรมมีเสียงสังเคราะห์อ่านคำที่เสนอแนะให้ เพื่อเด็กได้ฟังพร้อมกับเห็นคำไปพร้อมๆกัน
                โปรแกรมเดาคำศัพท์
 โปรแกรมนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมประมวลผลคำ หรือใช้แยกต่างหากก็ได้ เมื่อใช้กับโปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมเดาคำศัพท์จะช่วยการเขียนคำได้ถูกต้อง โดยเริ่มจากพิมพ์ตัวอักษรตัวแรก โปรแกรมจะเสนอแนะคำเต็มของคำที่ขึ้นต้นด้วยอักษรนั้นให้ ตามลำดับความถี่การใช้งาน เมื่อเลือกคำที่ต้องการได้แล้ว โปรแกรมจะนำเสนอรายการคำที่ใช้ต่อจากคำที่เลือก ตามลำดับความถี่การใช้งาน เป็นการช่วยประหยัดการพิมพ์ โปรแกรมนี้มีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับแป้นพิมพ์ การสะกดคำ ไวยากรณ์ ผู้ที่พิมพ์ช้า ผู้ที่ใช้ปากกาไม่ได้ และผู้ที่มีปัญหาการเขียนเนื่องจากปัญหาด้านการอ่าน โปรแกรมนี้จะช่วยให้นักเรียนถ่ายทอดความคิดได้โดยไม่สับสนในการเลือกคำ สำหรับผู้ที่มีความยากลำบากในการเขียนหรือสะกดคำ โปรแกรมนี้จะช่วยลดเวลา ความยากเย็น และความสับสน ในการพิมพ์คำได้
โปรแกรมสั่งงานด้วยเสียง
 เป็น โปรแกรมที่ใช้เสียงของผู้ใช้เพื่ออ่านข้อความให้คอมพิวเตอร์รู้จำเสียงและ แปลงเสียงเป็นข้อความแทนการพิมพ์ หรือใช้ออกคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เช่น การเปิดโปรแกรม การจัดเก็บข้อมูล โปรแกรมนี้มีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่ต้องการระบบ สำหรับการพิมพ์งานด้วยเสียง สำหรับผู้ที่มีความลำบากในการเขียนด้วยมือแต่มีทักษะการพูดดี เหมาะสำหรับนักเรียนที่มีปัญหาเรื่องการเขียนสะกดคำ แต่มีความสามารถในการอ่านและจดจำคำที่ถูกต้องเพื่อนำเสนอด้วยการพูดได้
พจนานุกรมแบบมีเสียงอ่าน 
 พจนานุกรมรูปแบบต่างๆ รวมทั้งคลังคำ (thesaurus), สมุดแผนที่ (atlas), สารานุกรม (encyclopedia) เป็นเครื่องมืออ้างอิงที่มีประโยชน์ในการตรวจสอบคำผิดและให้คำพ้องเสียงเพื่อให้เลือกใช้คำได้ พจนานุกรมมีทั้งในรูปของมัลติมีเดีย พจนานุกรมแบบพกพา รวมทั้งพจนานุกรมที่มีเสียง ฐานข้อมูลพจนานุกรมที่เหมาะสมกับโปรแกรมตรวจสอบคำผิด (Spell Checkers) สำหรับนักเรียนควรจะมีจำนวนคำประมาณ 40,000 คำ โปรแกรม Word Processing ที่ติดตั้งการตรวจสอบคำผิด (Spell Checkers) จะแสดงคำที่สะกดผิดได้ เมื่อเราสะกดคำผิดแต่พิมพ์คำด้วยเสียงของคำถูกต้อง โปรแกรมจะให้คำต่างๆ ที่ขึ้นต้นด้วยอักษร 2-3 ตัวที่มีเสียงเหมือนกัน จึงสามารถเลือกคำที่ถูกต้องได้
แสดงตัวอย่างพจนานุกรมแบบมีเสียงอ่าน
โปรแกรมจัดระบบความคิดแบบใช้ภาพกราฟฟิก 
เป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่ใช้ร่วมกับโปรแกรม Outlining และ Brainstorming ใช้ในการเรียบเรียงงานเขียน เหมาะสำหรับเด็กที่มีความลำบากในการแสดงความคิดเป็นลำดับต่อเนื่องกัน
โปรแกรมระดมความคิด 
โปรแกรมนี้อาจมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น Mind Mapping หรือ Visual Thinking เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเส้นทางความคิดและบันทึกความคิดโดยไม่ต้องกังวลกับโครงสร้างหรือลำดับของความคิด ในตอนแรกเด็กจะพิมพ์ความคิดหลักลงไปก่อน แล้วพิมพ์ความคิดรองในรูปที่อยู่โดยรอบความคิดหลักโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับลำดับของความคิดว่าแต่ละความคิดที่พิมพ์ลงไปจะสัมพันธ์กันหรือไม่ เด็กจะสามารถแสดงความคิดด้วยถ้อยคำสั้น ๆ หลังจากนั้นโปรแกรมก็จะเชื่อมโยงความคิดรองเข้ากับความคิดหลัก และความคิดรองอาจจะถูกย้ายที่หรือแทนที่ในกลุ่มต่างๆ หลังจากภาพแสดงความคิดสมบูรณ์แล้ว โปรแกรมก็จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบจากกราฟฟิกเป็นโครงร่างข้อความโดยอัตโนมัติ
เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อช่วยการอ่าน เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยในการอ่านของผู้ที่มีปัญหาในการเรียนรู้มีหลายอย่างด้วยกัน ดังนี้
โปรแกรมอ่านหน้าจอ
 เป็นโปรแกรมที่สามารถเข้าไปอ่านเมนู และเนื้อหาของโปรแกรมต่างๆที่ใช้งานผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยมีการติดตั้งโปรแกรมเสียงสังเคราะห์ที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนข้อความให้เป็นเสียงสังเคราะห์ได้ โปรแกรมนี้จะช่วยผู้ที่มีปัญหาในการอ่านและการเขียน และผู้ที่สามารถฟังได้ดีกว่าอ่าน เพราะในขณะที่มองเห็นข้อความก็จะได้ยินเสียงของข้อความนั้นด้วย เด็กๆ สามารถทบทวนงานเขียน โดยการฟังและเห็นงานเขียนไปพร้อมๆกัน การได้ยินเสียงอ่านไปด้วย จะช่วยให้เด็กรู้ว่ามีที่ผิดตรงไหนบ้าง ซึ่งอาจจะไม่สามารถเห็นได้จากการอ่านด้วยตนเอง
โปรแกรมการรู้จำอักษรด้วยแสง 
ที่มีเสียงสังเคราะห์อ่าน เป็นโปรแกรมที่ช่วยแปลงข้อความในสิ่งพิมพ์ให้เป็นภาพข้อความและเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อบันทึกเก็บเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ได้ โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์สแกนจากสิ่งพิมพ์ผ่านระบบการรู้จำอักษรด้วยแสง เป็นไฟล์ข้อความ และสามารถอ่านด้วยโปรแกรมสังเคราะห์เสียง ทำหน้าที่เสมือนเป็นเครื่องอ่านหนังสือ (Reading Machine) สำหรับช่วยผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่านตัวเขียนหรือปัญหาการเข้าใจข้อความ
หนังสือเดซีและเครื่องอ่านหนังสือเดซี 
ในต่างประเทศ หนังสือเดซีเป็นหนังสือที่สมาคมคนตาบอด และสมาคมผู้ที่มีปัญหาทางการอ่านได้ร่วมกันจัดทำขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการอ่านที่เห็นข้อความพร้อมเสียงอ่าน โดยมีการจัดทำหนังสือเรียน วารสาร หนังสือพิมพ์ และหนังสืออื่นๆ ในรูปแบบหนังสือเดซีมากขึ้น สามารถเลือกฟังได้ทั้งแบบเสียงบันทึก หรือเสียงสังเคราะห์ ส่วนเครื่องอ่านมีทั้งที่เป็นฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ผู้ที่มีปัญหาด้านการมองเห็นหรือปัญหาการอ่านสามารถยืมได้จากห้องสมุดหนังสือเสียง
เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อช่วยการฟังและการได้ยิน ประกอบด้วย
เครื่องเล่นและบันทึกเสียง MP 3 
เครื่องมือนี้สามารถใช้บันทึกเสียง และอ่านข้อความที่บันทึกในรูปแบบไฟล์ MP3 ได้ทุกประเภท เด็กจึงสามารถใช้เครื่องมือนี้ฟังเสียงจากการบันทึกได้ มีความจุหลายขนาดให้เลือก
เครื่องช่วยในการฟังส่วนบุคคล 
เป็นเครื่องมือที่ใช้ขยายเสียงพูดให้ดังขึ้น เช่น เสียงครูพูดในห้องเรียน ในขณะ เดียวกัน ก็จะลดเสียงรบกวนหรือเสียงแทรกต่างๆ ทำให้ฟังเสียงพูดได้ชัดเจนขึ้น
เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อช่วยการวางแผนและจัดระบบ (Planning and Organization) เครื่องมือหรือโปรแกรมที่สามารถใช้ในการวางแผนและจัดระบบได้แก่
เครื่องมือบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
 เป็นเครื่องมือหรือ โปรแกรมที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเก็บข้อมูล เรียบเรียงข้อมูลและค้นคืนข้อมูลจำนวนมากได้ เพราะเป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมที่มีหน้าที่การทำงานหลายอย่าง เช่น ปฏิทินรายเดือน แผนงานประจำวัน นาฬิกาและนาฬิกาปลุก สมุดบัญชี สมุดโทรศัพท์ สมุดที่อยู่ เป็นต้น
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล 
เป็นโปรแกรมที่เหมาะสำหรับช่วยการวางแผนและจัดระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถสร้างฐานข้อมูลของตนเองโดยการบันทึกสิ่งต่างๆ ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดเก็บ เรียงลำดับ หรือสืบค้นข้อมูลได้สะดวก ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อความได้โดยไม่จำกัดความยาว เพียงแต่จำบางส่วนของข้อมูลก็จะทำให้ค้นข้อมูลได้โดยการพิมพ์ส่วนใดส่วนหนึ่งที่อยู่ในข้อความลงไป
โปรแกรมจัดการเวลา 
เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวางแผนและจัดระบบประจำวัน สัปดาห์ และเดือน มีการจำเสียงและการเตือนด้วยเสียง
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการวางแผนและจัดระบบได้ เช่น ปากกาเน้นข้อความ บัตรดัชนี การใช้รหัสสี การใช้เสียงเตือน นาฬิกาดิจิทัล นาฬิกาแบบมีเสียงบอกเวลา หูฟังหรือที่อุดหูเพื่อป้องกันเสียงรบกวน เทปบันทึกเสียง โปรแกรมจัดระบบความคิด
เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อช่วยการเรียนคณิตศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกหลักที่ใช้ช่วยในการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องด้านการคิดคำนวณได้แก่
เครื่องคิดเลขพูดได้ 
เครื่องคิดเลขที่มีเสียงสังเคราะห์จะช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาในการคำนวณ ได้ใช้ช่วยในการคำนวณ และอ่านออกเสียงตัวเลข เครื่องหมายและรวมทั้งผลลัพธ์ของการคำนวณด้วย เครื่องมือนี้จะช่วยให้เด็กสามารถตรวจพบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในขณะกดแป้นพิมพ์ และได้ยินคำตอบซึ่งจะช่วยให้มีการตรวจสอบตัวเลขซ้ำได้ เช่น การเขียนตัวเลขสับสนระหว่าง 91 กับ 19 หรือ เลข กับ เป็นต้น
โปรแกรมแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ 
โปรแกรมนี้จะช่วยทำแบบฝึกหัดการคิดคำนวณเบื้องต้นบนคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการบวก ลบ คูณ และหาร ถ้ามีการติดตั้งเสียงสังเคราะห์ ตัวเลขที่ปรากฏบนหน้าจอก็จะมีการอ่านออกเสียงด้วย
นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่นอีก ซึ่งใช้ประกอบกับเครื่องมือดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ การใช้รหัสสี เครื่องคิดเลขที่มีฟังก์ชันพิเศษ โปรแกรมคิดเลขแบบมีเสียงอ่าน เป็นต้น



เทคโนโลยีการสื่อสาร

เทคโนโลยี หมายถึงวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์
เทคโนโลยีการสื่อสาร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                   ตามพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2542 ได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ ที่
เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  ดังนี้
                   เทคโนโลยี หมายถึงวิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์
ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
                   สารสนเทศ  หมายถึง  ข่าวสาร  การแสดงหรือชี้แจงข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ
                   ข้อมูล  หมายถึง  ข้อเท็จจริง  หรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง
                   การสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง  ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ช่องทางการส่งข้อมูล ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ  และหน่วยรับ
ข้อมูลหรือผู้รับสาร
                   จากความหมายดังกล่าว  สามารถกล่าวขยายอธิบายเพิ่มเติมได้  คือ
                   เทคโนโลยี (Technology) มีความหมายมาจากคำ 2 คำ คือเทคนิค (Technique) ซึ่งหมายถึง  วิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และคำว่า ลอจิก (Logic) ซึ่งหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอนเพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว (Speed) ความน่าเชื่อถือ (Reliably) และความถูกต้อง  ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวถึงนี้มีอยู่อย่างครบถ้วนในเครื่องคอมพิวเตอร์
       อย่างไรก็ตาม  ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี  ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงคอมพิวเตอร์เท่านั้นเพราะเทคโนโลยีที่เราพบเห็นยังมีอีกหลายอย่าง เช่น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร  และ โทรคมนาคมเทคโนโลยีเครือข่าย  เทคโนโลยีสำหรับการผลิต  การจัดการในงานธุรกิจและงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
       เทคโนโลยี  ในความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็คือ  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยประมวลผลข้อมูลให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ  โดยระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ฮาร์ดแวร์  หรือตัวเครื่องและอุปกรณ์รอบข้าง  ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม  และผู้ทำงานที่ต้องการทำงานอย่างสัมพันธ์กัน
                   การสื่อสาร (Communication)  แต่เดิมมักได้ยินแต่คำว่า IT  หรือ Information Technology  เท่านั้น
ต่อมาได้นำตัว C หรือ Communication เข้ามาร่วมด้วย  เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนาอย่างมาก  และ
สามารถที่จะนำสื่อสารในเทคโนโลยีได้
                   การสื่อสารครอบคลุมประเด็นในเรื่ององค์ประกอบ  3  ส่วน ได้แก่  ผู้ส่งสาร ช่องทางการสื่อสาร และ
ผู้รับสาร และมีระบบการสื่อสาร 2 ประเภท คือ ประเภทมีสาย  และประเภทไม่มีสายหรือไร้สาย  เทคโนโลยีการ 
สื่อสาร  ได้แก่  อินเทอร์เน็ต  โดยเฉพาะบริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)  หรือ  (web)
                   จึงกล่าวได้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ  หมายถึง  "วิทยาการต่างๆ  ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลข่าวสาร
ของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง"   กล่าวคือ  เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  กับการจัดการ
สารสนเทศ  ที่อาศัยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์  และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเป็นหลัก  ตั้งแต่การ
รวบรวม  การจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล  การพิมพ์  การสร้างรายงาน  การสื่อสารข้อมูล  ฯลฯ  เพื่อให้ได้
สารสนเทศไว้ใช้งานได้อย่างทันเหตุการณ์ก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในด้านการผลิต  การบริการ  การบริหาร
และ การดำเนินงานต่าง ๆ   รวมทั้งเพื่อการศึกษา และการเรียนรู้   ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้าน
เศรษฐกิจ  การค้า  และการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และคุณภาพของประชาชนในสังคม
                   ปัจจุบันเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในทุกวงการ  เช่น  นำมาใช้ในวงการแพทย์  เรียกว่า  เทคโนโลยี
ทางการแพทย์ (Medical Technology) นำมาใช้ทาง การเกษตร เรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural
Technology)  นำมาใช้ทางการอุตสาหกรรม เรียกว่า เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (Industrial Technology)
นำมาใช้ทางการสื่อสาร เรียกว่า เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) และนำมาใช้ในวงการ
อื่น ๆ อีกมากมาย รวมทั้งนำมาใช้ในวงการศึกษา ที่เรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) 
เทคโนโลยีการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีในการสื่อสารยุคใหม่ 4 กลุ่ม ได้แก่
                   1. เทคโนโลยีการแพร่ภาพและเสียง (Broadcast and Motion Picture Technology)
                   2. เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print and Publishing Technology)
                   3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology)
                   4. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology)
                   บทบาทของเทคโนโลยีการสื่อสารในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์  ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร  โครงข่าย
โทรศัพท์ อุปกรณ์ ภาพและเสียง มีผลกระทบต่อ "สื่อแบบดั้งเดิม" (Traditional Media) ซึ่งได้แก่หนังสือพิมพ์
นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทำให้  เกิดสิ่งที่เรียกว่า  " การปฏิวัติแห่งระบบตัวเลข"   (Digital
Revolution)  ทำให้ข้อมูลข่าวสารไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณ์ใด เช่น ข้อความเสียงภาพเคลื่อนไหวรูปภาพ หรืองาน
กราฟิก ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นภาษาอีกชนิดหนึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งหมด  คือสามารถอ่านและส่งผ่าน
ได้อย่างรวดเร็วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วยังสามารถนำเสนอในลักษณะใดก็ได้ตามความต้องการใช้งาน ของ
ผู้ใช้งาน ความเปลี่ยนแปลงนี้ถูกเรียกขานว่า "การทำให้เป็นระบบตัวเลข" หรือ"ดิจิไทเซชั่น" (Digitization) ด้วย
ระบบที่มีการทำให้เป็นระบบตัวเลข เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิด "สื่อใหม่" (New Media) ขึ้น เป็น
สื่อที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับระบบตัวเลข เครื่องคอมพิวเตอร์ และระบบการสะท้อนกลับ หรือ "อินเตอร์ แอคทีฟ"
(Interactive)
                   เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)  คือเทคโนโลยีดิจิตัล (Digital Technology)
ประเภทหนึ่งซึ่งได้พัฒนาตัวเพื่อเอื้อต่อการจัดการ  “การสื่อสาร(Communication)” หรือ “การขนส่งข่าวสาร
(Transfer of Information)”  เทคโนโลยีการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาพ (Image) เสียง (Voice)  หรือ
ทางด้านข้อมูล (Data) ได้รับการพัฒนาจนมนุษย์ สามารถเชื่อมโยงติดต่อกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว  และเป็น
เครือข่ายที่ติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก  เป็นยุคของสารสนเทศ (Information Age) และเป็นสังคมสาร- สนเทศ
(Information Society) ที่นับวันจะมีอัตราการเติบโตขึ้นทุกที่ทั้งในด้านขนาดและปริมาณข่าวสารที่ไหลเวียนอยู่
ในสังคม (ธวัชชัย พานิชยกรณ์, 2539)
ความหมายของเทคโนโลยีการสื่อสาร
                   เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ ๆ
ที่ทันสมัย  มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมี
ประสิทธิภาพดีขึ้น และประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม “เทคโนโลยี”
เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct)
ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)
                   เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติ
หรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผล
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่
เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
                   ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell.
1993 : 449)
                         1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่าง ๆ  ที่ได้รวบรวมไว้  เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ  โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่
เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
                         2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้
กระบวนการทางเทคโนโลยี
                         3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product)   เช่น ระบบ
คอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
                   สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี (Technology)
ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art of
craft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึง
หมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
                   พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters 1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้
                         1)  การใช้ทางวิทยาศาสร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและ
พานิชกรรม
                         2) องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
                         3) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ
เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ
                    บราวน์ (Brown) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
                   เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และ
กระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ
กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
                   สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ (2541) หมายถึงวิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการ
ประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และ
ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ใน
ความหมายนี้ เทคโนโลยีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
                   เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการ
ดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล และจากความหมายดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า
                   เทคโนโลยี  เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจน
ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์  ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์ และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงาน  เพื่อช่วยให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็น
เกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84)  คือ
                         1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่าง
เที่ยงตรงและรวดเร็ว
                         2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่
จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
                         3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่
ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
                   การสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง  ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร  ช่องทางการส่งข้อมูล  ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ  และหน่วย
รับข้อมูลหรือผู้รับสาร 
ความหมายของเทคโนโลยีการสื่อสาร
                   เมื่อเอ่ยถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวกับเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ ๆ
ที่ทันสมัย  มีราคาแพง มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมี
ประสิทธิภาพดีขึ้น และประสิทธิผลสูงขึ้น รวมทั้งประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย อย่างไร ก็ตาม เทคโนโลยี
เป็นคำที่มาจากภาษาลาติน และภาษากรีก คือ ภาษาลาติน Texere : การสาน (to weare) : การสร้าง (to construct)
ภาษากรีก Technologia : การกระทำอย่างมีระบบ (Systematic Treatment)
                   เทคโนโลยีมิได้มีความหมายเฉพาะการใช้เครื่องจักรกลอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการปฏิบัติ
หรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผล
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2525 ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่า หมายถึง วิทยาการที่
เกี่ยวกับศิลปะ ในการนำเอาวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม
                   ลักษณะของเทคโนโลยีสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell.
1993 : 449)
                         1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ หรือความรู้ต่าง ๆ  ที่ได้รวบรวมไว้  เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ  โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่
เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
                         2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้
กระบวนการทางเทคโนโลยี
                         3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product)   เช่น ระบบ
คอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
                   สารานุกรมเอ็นคาร์ทา (Encarta 1999) ได้ให้ที่มาและความหมายของคำว่า เทคโนโลยี (Technology)
ไว้ว่า Technology เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือ Tekhne หมายถึง ศิลป หรืองานช่างฝีมือ (art of
craft) และ logia หมายถึง สาขาวิชาของการศึกษา (art of study) ดังนั้นถ้าจะแปลตามตัวแล้ว เทคโนโลยี จึง
หมายถึง การศึกษาหรือศาสตร์ของงานช่างฝีมือ
                   พจนานุกรมเว็บสเทอร์ (Websters 1994) ได้ให้ความหมายของคำว่า เทคโนโลยี ไว้ดังนี้
                         1)  การใช้ทางวิทยาศาสร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและ
พานิชกรรม
                         2) องค์รวมทั้งหมดของวิธีการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
                         3) องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญ
เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ
                    บราวน์ (Brown) กล่าวว่า เทคโนโลยีเป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิดผลประโยชน์
                   เดล (Dale 1969) ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีประกอบด้วยผลรวมของการทดลอง เครื่องมือ และ
กระบวนการ ซึ่งสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ ทดลอง และได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เทคโนโลยี หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการผลิต การสร้าง และการใช้สิ่งของ
กระบวนการ หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีในธรรมชาตินั่นเอง
                   สุพิทย์ กาญจนพันธุ์ (2541) หมายถึงวิธีการอย่างมีระบบในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการ
ประเมินกระบวนการเรียนการสอนทั้งระบบ โดยให้ความสำคัญต่อทั้งด้านเครื่องมือ ทรัพยากรมนุษย์ และ
ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างมนุษย์กับเครื่องมือ เพื่อจะได้รูปแบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ใน
ความหมายนี้ เทคโนโลยีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ระบบเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
                   เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2528) กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีคือวิธีการหรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการ
ดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุผล และจากความหมายดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า
                   เทคโนโลยี  เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจน
ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์  ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์ และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงาน  เพื่อช่วยให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
การนำเทคโนโลยีมาใช้กับงานในสาขาใดสาขาหนึ่งนั้น เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยสำคัญ 3 ประการ และถือเป็น
เกณฑ์ในการพิจารณานำเทคโนโลยีมาใช้ด้วย (ก่อ สวัสดิพาณิชย์ 2517 : 84)  คือ
                         1. ประสิทธิภาพ ( Efficiency ) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้อย่าง
เที่ยงตรงและรวดเร็ว
                         2. ประสิทธิผล ( Productivity ) เป็นการทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาอย่างเต็มที่มากที่สุดเท่าที่
จะมากได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
                         3. ประหยัด ( Economy ) เป็นการประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการทำงานด้วยการลงทุนน้อยแต่
ได้ผลมากกว่าที่ลงทุนไป
                   การสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง  ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสาร
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร  ช่องทางการส่งข้อมูล  ซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ  และหน่วย
รับข้อมูลหรือผู้รับสาร